“... ฯข้าฯ จะสำแดงความขอบคุณตามสมควร ก็ไม่มีช่องทาง จะทำให้สมควรทั่วหน้าไปได้ นอกจากการอธิษฐานตั้งจิตรซื่อสัตย์สุจริตแก่ท่านทั้งหลายทั้งปวง แลรักษายุติธรรมให้ท่านทั้งหลายทั้งปวงนั้นเลย ก็การซื่อสัตย์สุจริตของฯข้าฯ แลรักษาความยุติธรรมให้ท่านทั้งหลายทั้งปวงนั้น ท่านทั้งปวงจงได้ความทราบเป็นจริง ด้วยการที่ฯข้าฯ รับน้ำพระพิพัฒสัตยาปีละสองครั้งมิได้ขาด คือ สำแดงปฏิญญาว่าฯข้าฯ ไม่ประทุศร้ายแก่ท่านผู้หาความผิดมิได้ และไม่พาโลโสคลุมด้วยการไม่ตรงแก่ท่านผู้หนึ่งผู้ใดเลย ก็การธรรมเนียมที่พระเจ้าแผ่นดินจะรับน้ำพระพิพัฒสัตยาเอาอย่างฯข้าฯประพฤตินี้ แต่ก่อนมาก็หาเคยมีไม่ ก็ไม่มีใครติดใจบังคับให้ข้าฯทำ ฯข้าฯยอมทำความสัตย์ให้ท่านทั้งปวงด้วยความชอบใจของฯข้าฯเอง เพื่อจะมิให้มีความฤาร้ายฯข้าฯ ในลางครั้งลางที อย่างเช่นมีแก่พระเจ้าแผ่นดินที่ล่วงมาแล้ว เพราะตัวฯข้าฯ มีความกตัญญูต่อท่านผู้มีคุณโดยสุจริต ไม่สู้ชอบใจอยู่แต่การที่สำคัญผิด ๆ ภาผิด ๆ จากความแลการที่เปนจริง ทุกสิ่งทุกอย่าง แลการใดที่เปนไปตามเหตุผลตามการที่เปนจริงแล้ว ถึงใครจะติเตียนนินทา ฯข้าฯ ก็ไม่ถือโทษเลย... ” (นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 204)


การบริหารราชการแผ่นดิน
การใช้ระบบคุณธรรมเข้าแทนที่ระบบอุปถัมภ์ในวงราชการ


ทรงคำนึงถึงคุณธรรมและความสามารถของผู้จะเข้ารับราชการในตำแหน่ง ทรงใช้ข้าราชการโดยคำนึงถึงความสามารถ ทรงติดตามผลงานของข้าราชการ และโปรดเกล้าฯให้ข้าราชการจากส่วนกลางไปตรวจ และรับรายงานสภาพตามหัวเมืองเสมอ ทรงกวดขันมิให้ข้าราชการข่มเหงราษฎร และสนับสนุนหลักการประนีประนอมในระบบการปกครอง ทรงประกาศเลือกสรรข้าราชการตุลาการชั้นสูง โปรดให้ส่งชื่อเพื่อคัดเลือกแทนการประกาศแต่งตั้งจากพระองค์ เป็นการใช้ความเห็นของคนหมู่มาก ดังที่ทรงประกาศไว้ในประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 เล่ม 2 175 (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 54-56) ความว่า

หน้า 9 จากทั้งหมด 17 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17