2. หลักการการปกครองของชาวตะวันตก ที่จะนำมาแก้ไขปรับปรุงใช้ในประเทศไทย อาจจะไม่เหมาะกับบ้านเมืองตะวันออก และขัดกับหลักการปกครองของไทยในสมัยโบราณ นอกจากนี้ยังมี ข้าราชการประเภทอนุรักษ์นิยมในขณะนั้น ยังเห็นว่า บ้านเมืองที่ปกครองแบบเก่านั้นยังก้าวหน้า ประชาชนอยู่ดีกินดีอยู่แล้ว เมื่อเกิดความคิดขัดแย้งขึ้นเช่นนี้ พระองค์ทรงไม่แน่พระทัยว่า พระราชดำริในการเปลี่ยนแปลงของพระองค์ กับการใช้การปกครองแบบเก่าโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไหน จึงจะเหมาะสมสำหรับประเทศไทย ปัญหานี้ยังไม่มีผู้รอบรู้ที่พอจะถวายความคิดเห็นแก่พระองค์ได้ (ดำเนิร เลขะกุล 2525 : 169-170)

ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงดำเนินพระบรมราโชบายในการปกครองประเทศ เป็นสายกลางมีลักษณะผสมผสานระหว่างตะวันตกและตะวันออก แม้ในส่วนของพระมหากษัตริย์ ก็เป็นพระมหากษัตริย์แบบตะวันตกและ ตะวันออก ลักษณะที่เป็นตะวันตกนั้น เป็นสิ่งประดับให้มีอารยธรรมยิ่งขึ้น ส่วนลักษณะที่เป็นตะวันออกนั้น คือ การวางพระองค์ประดุจดังบิดาของประชาชน

พระบรมราชสัญลักษณ์ของ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

หน้า 3 จากทั้งหมด 17 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17