“... ตั้งแต่นี้ต่อไป ถ้าพระเจ้าแผ่นดินจะต้องพระราชประสงค์ ที่บ้านเรือน นา สวน พระราชทานให้เป็นวัง บ้าน สวน นา แก่พระราชวงศานุวงศ์ แลข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน ซึ่งมีความชอบ ฤาทรงพระราชศรัทธา ทรงสร้างพระอารามหลวงในที่แห่งใด ตำบลใด ฤาจะพระราชทานให้ผู้ใดก็ดี... ให้เอาเงินในพระคลัง มหาสมบัติสำหรับแผ่นดิน ซื้อที่บ้านเรือน นา สวน พระราชทานแก่พระราชวงศานุวงศ์ และข้าทูลละอองธุลีพระบาทฝ่ายหน้าฝ่ายใน...”

การวางพื้นฐานในด้านการปกครอง


ด้วยทรงเห็นว่าราษฎรจะครองชีพด้วยความร่มเย็นเป็นสุขได้ ก็ต้องมีการปกครองเป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยหลักทางกฎหมาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงปฏิรูปกฎหมายและการศาลของไทยในด้านต่าง ๆ ให้ทันสมัยขึ้น ทรงติดต่อให้ชาวยุโรปและอเมริกาที่ชำนาญในวิชากฎหมายเข้ามาเป็นข้าราชการแก้กฎหมายต่าง ๆ ให้ทันสมัยและไม่ขัดกับกฎหมายต่างประเทศ ทำให้กระบวนการยุติธรรมของไทยในยุคหลัง เริ่มใช้หลักเกณฑ์ความยุติธรรมแบบสากลมาใช้ในการออกกฎหมายและพิจารณาคดีเพิ่มเติมขึ้นจากการถวายฎีกา ความเปลี่ยนแปลงนี้เห็นจากประกาศที่ห้ามมิให้ช่วยคนในบังคับต่างประเทศยุโรปมาเป็นทาส ประกาศพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการคมนาคมในประเทศ ซึ่งใช้ร่วมกันทั้งคนไทยและต่างประเทศ คือพระราชบัญญัติและกฎหมายท้องน้ำเกี่ยวกับเรือใหญ่ เรือเล็ก ที่ขึ้นตามแม่น้ำลำคลอง และพระราชบัญญัติว่าด้วยการทางบก
(นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 317) ในกระบวนการศาล ทรงให้มีการลงลายมือหรือแกงไดไว้เป็นหลักฐานในหนังสือสำคัญ บังคับใช้ทั้งในกรุงและหัวเมือง โปรดเกล้า ฯ ให้ทำสารกรมธรรม์หรือหนังสือสัญญาเป็นเกณฑ์ เป็นหลักฐานการฟ้องร้อง สภาพความเป็นอยู่ของราษฎรในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น

หน้า 17 จากทั้งหมด 17 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17