การสืบทอดอำนาจทางการเมืองโดยการสืบราชสันตติวงศ์

ด้วยมีพระราชดำริว่าการสืบราช สันตติวงศ์ควรเป็นไปตามสายโลหิต โดยราชสมบัติจะตกอยู่กับพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ที่ประสูติแต่พระมเหสี พระราชดำริเรื่องรัชทายาทจะเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จ สวรรคตตอนปลายรัชกาลของพระองค์ได้มีพระราชดำริ เป็น 2 ประการ คือ

1. ถ้าพระองค์ดำรงพระชนม์ชีพอยู่จนถึง ปีระกา พ.ศ. 2416 เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ มีพระชันษาสมบูรณ์ ได้ทรงผนวชตามประเพณีแล้ว ก็จะมอบเวนราชสมบัติพระราชทานและส่วนพระองค์จะเสด็จออกเป็นพระเจ้าหลวงช่วยคุ้มครองและแนะนำให้ ทรงว่าราชการแผ่นดินไปจนตลอดพระชนมายุของพระองค์ นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ที่พระมหากษัตริย์มีพระราชดำริที่จะสละราชสมบัติ เพื่อให้พระราชโอรสขึ้นครองราชย์สืบแทน

2. ถ้าหากพระองค์เสด็จสวรรคตก่อนปีระกา จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์กับเสนาบดีผู้ใหญ่ปรึกษากัน ถวายราชสมบัติแก่เจ้านายพระองค์หนึ่งพระองค์ใด ตามแต่จะเห็นพร้อมกันว่าสมควรจะปกครองแผ่นดินได้ (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 131)
พันธะสัญญาต่อกันระหว่างผู้ปกครองและผู้ใต้ปกครอง ผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองควรมีพันธะสัญญาต่อกัน ในแผ่นดินที่ผ่าน ๆ มา พระบรมวงศานุวงศ์ เหล่าเสนาบดีและข้าราชการต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาสาบานว่าจะซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ฝ่ายเดียว พระองค์จึงร่วมเสวยน้ำพระพิพัฒน์สัตยาเช่นเดียวกับข้าราชการ นับแต่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เพื่อเป็นการแสดงความ ซื่อสัตย์และจริงใจของพระองค์ให้ปรากฏ ดังในพระบรมราโชวาท ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา ความว่า

หน้า 8 จากทั้งหมด 17 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17