4. โรงกษาปณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงเครื่องจักรสำหรับผลิตเงินเหรียญขึ้น ที่หน้าพระคลังมหาสมบัติ ตรงมุมถนนออกประตูสุวรรณบริบาล ข้างตะวันออก พระราชทานนามว่า “โรงกระสาปน์สิทธิการ” เหตุที่สร้างโรงกษาปณ์ได้ความว่า ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีกับนานาประเทศ การค้าขายกับต่างประเทศเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้การแลกเปลี่ยนเงินตรามีปัญหา พระคลังมหาสมบัติผลิตเงินพดด้วงด้วยวิธีอย่างเก่าไม่ทัน

เมื่อราชทูตไปเมืองอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2400 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ไปซื้อเครื่องจักรมาสร้างโรงกษาปณ์ พ.ศ. 2403 ผลิตเงินเหรียญบาทและเงินสลึงเฟื้องจำหน่ายแทนเงินพดด้วงขึ้น พ.ศ. 2405 ผลิตเงินทองแดงซีกแลเสี้ยวแลอัฐตะกั่วใช้แทนเบี้ยเป็นต้นมา ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงกษาปณ์เล็กเกินไป โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงกษาปณ์ใหม่ โรงกษาปณ์เก่าจึงใช้เป็นโรงหมอและคลังทหารจนถึง พ.ศ. 2440 เกิดไฟไหม้โรงกษาปณ์เก่าหมดทั้งหลัง

5. ที่อยู่อาศัย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการสร้างที่พักอาศัยประเภทตึกแถว เรือนแถว หรือเรือนพักอาศัยกึ่งร้านค้า (Shop House) คาดว่าได้รับอิทธิพลจากจีน ปีนัง และสิงคโปร์ ตึกแถวรุ่นแรก ๆ อยู่บริเวณถนนสนามไชย และท่าเตียน สำหรับให้ข้าราชการชาวต่างประเทศพักอาศัย ต่อมาได้สร้างเพิ่มขึ้นอีกในถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมืองและถนนเฟื่องนคร เพื่อคนทั่วไปเช่าประกอบการค้าและพักอาศัย
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของบ้านพักอาศัยในช่วงรัชกาลที่ 4 เป็นช่วงคาบเกี่ยวปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ 3 จนถึงต้นรัชกาลที่ 5 การศึกษาจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ร่วมกับการศึกษาจากจิตรกรรมฝาผนังของโบสถ์ที่สร้างหรือปฏิสังขรณ์ รวมทั้งการสำรวจบ้านเมืองและกุฏิสงฆ์ พบว่า ลักษณะของบ้านมีหลายประเภทและหลายระดับ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ถึงสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศนุวัดติวงศ์ เกี่ยวกับความคิดที่ทำบ้านเรือนในกรุงเทพฯ ต่างกันเป็น 3 ยุค คือ

หน้า 23 จากทั้งหมด 26 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26