นำมาผลิตเป็นเงินพดด้วงจะมีขนาดเล็กจนหยิบไม่ได้ หรือใหญ่เกินกว่าจะพกพา ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการเพิ่มเข้าและหักออกในการคำนวณเงินตรา จึงใช้วิธีการบอกน้ำหนักหรือจำนวนเงินเรียกว่า “ครุตีนกา” หรือ “ครุเรือนเงิน” (นวรัตน์ เลขะกุล 2543 : 23)

ชั่ง
ตำลึง
บาท
ครุตีนกาหรือครุเรือนเงินที่ใช้บอกราคา
เฟื้อง
สลึง
ไพ

ประเทศไทยเริ่มใช้เงินพดด้วงตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ติดต่อเรื่อยมาจนถึงสมัย กรุงรัตนโกสินทร์

ในสมัยกรุงสุโขทัย พระเจ้าแผ่นดินทรงริเริ่ม และให้ผลิตเงินตราพดด้วงขึ้นใช้ แต่มิได้ผูกขาดในการผลิต ทรงเปิดโอกาสให้เจ้าเมืองขึ้น ตลอดจนพ่อค้าประชาชนผลิตเองได้ เงินพดด้วงสมัยกรุงสุโขทัย จึงมีตราบ้าง ไม่มีบ้าง เนื้อเงินและน้ำหนัก ตลอดจนลักษณะจึงแตกต่างกันไป

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทางราชการผูกขาดในการทำเงินพดด้วงทั้งหมด ซึ่งมีการผลิตเงินพดด้วงทองคำด้วย และห้ามราษฎรผลิตเงินตราใช้เอง เงิน พดด้วงจึงมีรูปร่างลักษณะ น้ำหนัก และเนื้อเงินเป็นอย่างเดียวกันหมดเป็นต้นมา จนถึงสมัยกรุงธนบุรีและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

ไพ


เฟื้อง


สลึง




บาท





ตำลึง

  รูปเงินพดด้วง ไพ เฟื้อง สลึง บาท ตำลึง
(ภาพจากเบี้ย บาท กษาปณ์ แบงก์ หน้า 23)

หน้า 2 จากทั้งหมด 19 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19