เหรียญเงินตรา

สังคมของชาวไทยในสมัยโบราณ เป็นสังคมที่มีระบบการแลกเปลี่ยนโดยตรง ระหว่างวัตถุกับวัตถุ ผลผลิตกับผลผลิต ซึ่งไม่สะดวกและผลผลิตบางอย่างมีค่าไม่เท่ากัน รวมทั้งความต้องการแลกเปลี่ยนที่ไม่ตรงกัน ทำให้ผู้คนเริ่มนำวัตถุที่เป็นต้องการโดยทั่วไป เช่น อาหาร เครื่องใช้ เครื่องประดับมาใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน ระบบแลกเปลี่ยนด้วยสื่อกลางจึงเกิดขึ้น
เงินหอยเบี้ยเป็นเงินตราที่มีการใช้อย่างกว้างขวางในทวีปเอเชียและแอฟริกา มาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ การใช้หอยเบี้ยเป็นเงินตราในสุวรรณภูมิและในชนชาติไทย มีมานานก่อนประวัติศาสตร์และปรากฏอยู่ในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลายหลัก ชนชาติไทยได้ใช้หอยเบี้ยเป็นเงินปลีกมาจนถึงสมยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ต่อมาจึงได้ผลิตเงินตรามูลค่าต่ำด้วยทองเหลือง ทองแดงและดีบุก (นวรัตน์ เลขะกุล 2543 : 12-13)
ชนชาติไทยได้ใช้ระบบน้ำหนักมาตรฐานจัดทำเงินตราเรียกว่า เงินพดด้วง มูลค่าของเงินพดด้วงจึงเท่ากับน้ำหนักของโลหะเงินที่ทำ โดยระบบการชั่งน้ำหนักแบ่งเป็น 11 หน่วย ได้แก่

สองเม็ดข้าว เป็นหนึ่งกล่อม สองกล่อมเป็นหนึ่งกล่ำ
สองกล่ำเป็นหนึ่งไพ สี่ไพเป็นหนึ่งเฟื้อง
สองเฟื้องเป็นหนึ่งสลึง สี่สลึงเป็นหนึ่งบาท
สี่บาทเป็นหนึ่งตำลึง ยี่สิบตำลึงเป็นหนึ่งชั่ง
ยี่สิบชั่งเป็นหนึ่งดุล ยี่สิบดุลเป็นหนึ่งภารา

การนำโลหะเงินมาผลิตเงินพดด้วง โดยที่มูลค่าโลหะเงินมีสูง เมื่อนำมาแบ่งตามหน่วยน้ำหนักมาตรฐานแล้วสามารถใช้ได้เพียง 5 หน่วย เท่านั้น เช่น ไพ เฟื้อง สลึง บาท และตำลึง เพราะนอกเหนือจากนั้นหาก

หน้า 1 จากทั้งหมด 19 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19