เหรียญกษาปณ์ทองคำ (ภาพจากหนังสือเบี้ย บาท กษาปณ์ แบงก์ หน้า 81)

พ.ศ. 2406 ประเทศไทยค้าขายกับต่างประเทศได้ทองคำเข้ามามาก จึงมีพระราชดำริให้ผลิตเหรียญทองคำ มีตราทำนองเดียวกับเงินเหรียญขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องแลก 3 ขนาด คือ ขนาดใหญ่ เรียกว่า “ทศ” หรือ “ทุกกังส์” ราคาเหรียญละ 8 บาท (เทียบเท่าราคาทองปอนด์สเตอร์ลิงก์ของอังกฤษในสมัยนั้น) ขนาดกลาง เรียกว่า “พิศ” หรือ “เอกกังส์” ราคาเหรียญละ 4 บาท และขนาดเล็ก เรียกว่า “พัดดึงส์” หรือ “จีนกังส์” ราคาเหรียญละ 10 สลึง (เท่ากับตำลึงจีน) ตามที่ทรงประกาศไว้ในประกาศพิกัดราคาทองแปทศพิศพัดดึงส์

“ ... มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้เจ้าพนักงานโรงจักร ซึ่งเปนที่ทำเงินเหรียญแลเบี้ยอัฐเบี้ยโสฬสนั้น คิดนำทองเหรียญทองแปด้วยทองคำเนื้อแปดเศษสอง คือทองใบยี่ห้ออันเสงเปน 3 ขนาด ขนาดใหญ่ตีราคาแปละ 8 บาท ขนาดกลางตีราคาแปละ 4 บาท ขนาดน้อยตีราคาแปละ 10 สลึง ขนาดใหญ่ ขนาดกลางนั้นเทียบตามอย่างทองเหรียญอังกฤษ คือเหรียญใหญ่ของอังกฤษที่เรียกว่า ทองปอนด์ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สเตอร์ลิงก์ หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า สอเวอร์เรนด์และเหรียญขนาดย่อมเรียกว่าทองฮาฟปอนด์ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เสมิสเตอร์ลิงก์ หรืออีกชื่อหนึ่งว่าฮาฟสอเวอร์เรนด์ ...

หน้า 10 จากทั้งหมด 19 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19