1. กองรักษาพระองค์อย่างยุโรป
2. กองทหารหน้า
3. กองปืนใหญ่ อาสาญวน
ทหารบกต่าง ๆ ที่กล่าวมาเป็นต้นเดิมของทหารบกที่มีต่อมาจนทุกวันนี้
พ.ศ. 2397 โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกองทหารล้อมพระราชวัง ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศทรงกำกับทหารกองนี้
พ.ศ. 2398 โปรดเกล้าฯ ตั้งพระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงมหิศวรินทรามเรศ ทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกองทหารหน้า
ผู้บัญชาการองค์นี้ทรงปรับปรุงการตั้งกองทหารไว้ตามหน่วยต่าง ๆ มารวมที่สนามชัย คือ

1. กองทหารฝึกแบบยุโรป
2. กองทหารมหาดไทย (เกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ)
3. กองทหารกลาโหม (เกณฑ์มาจากหัวเมืองฝ่ายใต้)
4. กองทหารเกณฑ์หัด (พวกขุนหมื่นสิบยกในกรมต่าง ๆ คือ 10 คน ชักออกเสีย 1 คน)

หลังจากปี พ.ศ. 2404 โปรดเกล้าฯให้จัดตั้งกองทหารอย่างยุโรปขึ้นอีกหลายอย่าง ต่อมา พ.ศ. 2405 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพเป็นผู้บังคับบัญชาคนใหม่ ครั้นถึงปลายรัชกาลที่ 4 นายน๊อกซ์ นายทหารอังกฤษขอลาออก จึงไม่มีนายทหารฝรั่งเหลืออยู่ในกองทัพ ทางราชการกองทัพจึงได้จ้าง นายทหารฝรั่งเศส ลามาช (Lamache) ต่อมาได้เป็นหลวงอุปเทศทวยหาญ ซึ่งมาแก้วิธีฝึกหัดทหารไทย และเปลี่ยนระเบียบการฝึกเป็นภาษาฝรั่งเศส เปลี่ยนไปได้ไม่นานก็สิ้นรัชกาล

กิจการทหารไทยซึ่งได้ปรับปรุงขึ้นใหม่ใน รัชกาลที่ 4 เจริญรุ่งเรืองขึ้นจนสามารถจัดไปสมทบกับกองทัพที่ส่งไปปราบฮ่อ และเป็นแนวทางของการปรับปรุงกิจการทหารครั้งใหญ่อย่างกว้างขวางในรัชกาลที่ 5 เป็นต้นมา

หน้า 5 จากทั้งหมด 13 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13