ในระหว่างปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ติดต่อมาถึงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แนวทางของภาษาและหนังสือเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงผนวชอยู่ทรงให้ความสนพระทัยในการเรียนภาษาอังกฤษ และทรงศึกษาจนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างดียิ่ง นับเป็นก้าวแรกของการยอมรับอารยธรรมตะวันตก และเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิรูปภาษาเข้าสู่ยุคใหม่ของประเทศไทย ภาษาไทยเริ่มได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ แต่ลักษณะ ทั่ว ๆ ไปของภาษาไทยยังไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่มีคำภาษาต่างประเทศมาปะปนอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น (กองหอสมุดแห่งชาติและกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปกร 2525 : 14)
ตัวอย่างภาษาไทย
ในรัชกาลที่ 4
รดูฝน
ฤาว่า
กระหนกตกใจ
สำนักพิ์
คุมเหง
ทองรูปประพรรณ์
ทำบาลชี
ตระลาการ
ฤทชาทำเนียบ
เข้ากันเปน
พระราชพิทธี
ไปหัวเมือง
สัญญาทานบล
ในปัจจุบัน
ฤดูฝน
หรือว่า
ตระหนกตกใจ
สำนัก
ข่มเหง
ทองรูปพรรณ
ทำบัญชี
ตุลาการ
ฤชาธรรมเนียม
รวมกันเป็น
พระราชพิธี
ไปต่างจังหวัด
สัญญาค้ำประกัน

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม้ว่าพระองค์ทรงเห็นความสำคัญ และทรงศึกษาภาษาต่างประเทศ แต่พระองค์ก็ยังทรงฝักใฝ่พระราชหฤทัยในภาษาไทย และทรงกวดขันเรื่องการใช้ถ้อยคำที่จะใช้เป็นภาษาเขียนของภาษาไทย หรือกราบทูลเรื่องราวต่าง ๆ ว่าคำใดที่ควรใช้หรือมิควรใช้ ได้พระราชทานคำอธิบายให้แบบอย่างไว้ ดังตัวอย่างเช่น

หน้า 2 จากทั้งหมด 9 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9