สภาพเศรษฐกิจ

ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของนานาประเทศในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าทรัพยากรเหล่านั้นรัฐบาลจะต้อง อาศัยแรงงานไพร่ในการจัดหาและผลิตขึ้น และมีปริมาณไม่มากนักในแต่ละปีราษฎรส่วนใหญ่ไม่รู้จักการค้าขาย เมื่อชาติมหาอำนาจตะวันตกเข้ามา และยื่นข้อเสนอในเรื่องการค้ากับไทย รัฐบาลไทยจึงไม่สามารถเป็นผู้กำหนดและวางนโยบายในการผลิตเองได้ นอกจากจะมีบทบาทในการสนองตอบความต้องการของประเทศมหาอำนาจตะวันตก และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น ผลก็คือ
1. ด้านการเกษตร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ เพราะแต่เดิมนั้นไทยมีระบบการค้าแบบ ผูกขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวซึ่งเป็นสินค้าต้องห้าม ห้ามการนำออกนอกประเทศเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการค้า ทำให้มีการผลิตข้าวเพื่อส่งออกแทนการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้แต่ภายในประเทศ มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น และนอกจากนี้ยังเลิกปลูกพืชผลเกษตรอย่างอื่น เช่น อ้อยซึ่งเคยเป็นพืชเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ มาปลูกข้าวกันมากขึ้น
2. ด้านการค้า มีการเปลี่ยนแปลงการค้า มาเป็นการค้าเสรี และอาศัยระบบเงินตรา ดังจะเห็นกฎหมายตลอดจนประกาศทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเงินตราหลายฉบับในรัชกาลนี้

สภาพสังคม

รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสมัยแรก ของการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเพื่อความทันสมัย จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลสืบเนื่องที่ต้องการเน้นให้เห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอารยธรรมประเทศหนึ่ง และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 47-49)
พระราชกรณียกิจ พระราชดำริ พระราชดำรัส ที่คัดลอกมานำเสนอในที่นี้ จะทำให้มองเห็นบทบาทของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ไขเหตุการณ์ภายนอกประเทศ และภายในประเทศด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพอย่างลึกซึ้ง
หมายเหตอักขระและตัวอักษรในพระราชดำรัส พระราชดำริ และพระราชกำหนดต่าง ๆ ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ได้คัดลอกมาตามที่ใช้ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


หน้า 14 จากทั้งหมด 14 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14