สรุป สาเหตุที่สถาปนากรุงธนบุรีขึ้นมาเป็นราชธานี มีดังนี้

1. กรุงธนบุรีอยู่ใกล้พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเพิ่งปราบลงได้ (ตีกลับคืนมาได้จากพม่าที่ให้สุกี้พระนายกองคุมอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น) ทำให้สะดวกในการที่จะคุ้มกันไม่ให้ชุมนุมอื่นใดมาครอบงำกรุงศรีอยุธยาจากพระองค์
2. กรุงธนบุรีตั้งอยู่ที่น้ำลึกใกล้ทะเล หากข้าศึกยกมาทางบก โดยไม่มีทัพเรือเป็นกำลังสนับสนุนด้วยแล้ว ก็ยากที่จะตีได้สำเร็จ
3. กรุงธนบุรีเป็นเมืองขนาดย่อม มีภูมิประเทศทำเลเหมาะที่จะตั้งเป็นเมืองหลวงใหม่ พอแก่กำลังกองทัพบก และกองทัพเรือของเจ้าตากจะรักษาไว้ได้ และกรุงธนบุรีเป็นเมืองเล็กเหมาะแก่ราษฎรจำนวนไม่มากนัก
4. กรุงธนบุรีมีป้อมปราการอยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำคือ ป้อมวิไชยประสิทธิ์ ( หรือในเอกสารบางเล่มเขียนว่าป้อมวิชัยประสิทธิ์ ) และป้อมวิไชยเยนทร์ ซึ่ง สะดวกต่อการป้องกันศัตรูที่ยกกำลังทัพเรือมารุกราน หรือปิดล้อม อีกทั้งป้อมวิชัยประสิทธิ์อยู่ในสภาพที่จะเข้าประทั บ ได้ทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาซ่อมแซมมากนัก เหมาะกับกำลังของพระองค์
5 . การปิดล้อมกรุงธนบุรีกระทำได้ยากมาก ถ้าศัตรูไม่มีกำลังทางเรือที่เข้มแข็งมาด้วย
6. ถ้ามีเหตุอันทำให้จะรักษาไว้ไม่ได้จริงๆ กรุงธนบุรีก็อยู่ใกล้ปากน้ำ อาจลงเรือถอยกลับไปตั้งอยู่ที่เมืองจันทบุรี ดังเดิม หรือตามหัวเมืองชายทะเลอื่นเป็นการชั่วคราวได้โดยสะดวก
7 . กรุงธนบุรีมีความสำคัญทางด้านยุทธศาสตร์คือ ตั้งปิดปากน้ำ กั้นหนทางที่ทางหัวเมืองเหนือทั้งปวงที่จะไปมาค้าขายติดต่อกับต่างประเทศเช่นเดียวกับกรุงศรีอยุธยา จึงเป็นที่สกัดกั้นมิให้หัวเมืองเหนือที่ตั้งตัวขึ้นเป็นใหญ่ ซื้อหาเครื่องศัตราวุธยุทธภัณฑ์จากต่างประเทศได้
8. กรุงธนบุรีมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจด้วย เพราะอยู่ใกล้ทะเล สะดวกแก่การไปมาค้าขาย และติดต่อกับต่างประเทศ นอกจากนั้นพื้นดินบริเวณกรุงธนบุรี และหัวเมืองใกล้เคียง เป็นที่ราบซึ่งเป็นเลนและโคลนตม ยังอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกอีกด้วย เช่น นาทางกระทุ่มแบน นครไชยศรี นาทางทะเล และแถบทุ่งพญาไท เป็นต้น

8.2 แต่เดิมสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงคิดว่าจะเสด็จไปประทับที่เมืองใด และทรงเปลี่ยนพระทัยเพราะเหตุใด ?
เมืองธนบุรีในเวลานั้นมีแต่ป้อมเล็กๆ บ้านเรือนที่พักอาศัยก็คงจะเก่าทรุดโทรม ไม่มีกำแพง น่าจะเสด็จไปหาเมืองที่มีกำแพงแข็งแรงมากกว่า เรื่องนี้ในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม ) กล่าวว่า แต่เดิมจะเสด็จไปเมืองจันทบุรี ดังความต่อไปนี้