จดหมายเหตุโหรฉบับพระยาประมูลธนรักษ์ว่า (แผ่นดินกรุงธนบุรี) ปีชวด จ.ศ.1130 พระยาตาก ......... จดหมายเหตุของพวกคณะบาทหลวงฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์ กับครั้งกรุงธนบุรี และครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ภาค 6 ในประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 39 มองซิเออร์คอร์ เขียนจดหมายเล่าแก่มองเซนเยอร์บรีโกต์ว่า เมื่อวันที่ 4 เดือนมีนาคมปีนี้ (2311) ข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก ..... และ เมื่อข้าพเจ้าได้มาถึงบางกอก พระยาตากพระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่ได้ทรงต้อนรับข้าพเจ้าอย่างดี
..
นายสวนมหาดเล็กได้แต่งโคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ.2314 ยืนยันการปราบดาภิเษกว่า
ใครอาจอาตมตั้ง ตัวผจญ ได้ฤา
พ่ายพระกุศลพล ทั่วท้าว
ปราดาลิเษกบน ภัทรบิฐ บัวแฮ
สมบัติสมบูรณ์ด้าว แด่นฟ้ามาปาน
แม้จะยุติได้ว่าเจ้าตากปราบดาภิเษกปกครองประเทศสยามโดยการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี ในพ.ศ.2311 แต่เนื่องจากไม่อาจสืบค้นหาวันเดือน ที่เสด็จขึ้นครองราชย์ได้ ทางราชการจึงกำหนดเอาวันเสด็จออกขุนนางวันแรกสุด เป็นวันคล้ายวันปราบดาภิเษกของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ดังปรากฏรายละเอียดในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรีฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม ) ว่า
๑
ณ วัน ๓ ฯ ๑ ค่ำปีชวด สัมฤทธิศก เพลาย่ำค่ำแล้วทุ่มหนึ่ง มีจันทรุปราคา
ณ วัน ๓ ฯ ๑ ค่ำ เพลาเช้าเสด็จออกขุนนางตรัสประภาษเนื้อความ จีนเส็งซื้อทองพระพุทธรูปลงสำเภา พระราชสุจริตปรารภ
๔
ตั้งพระอุเบกขา พรหมวิหารเพื่อจะบำรุงบวรพุทธศาสนา และอาณาประชาราษฎร์นั้น อัศจรรย์แผ่นดินไหวเป็นช้านาน ( กรมศิลปากร , ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 65 หน้า 39 อ้างโดย วีณา โรจนราธา , 2540 : 92 )
วัน ๓ ฯ ๑ ค่ำ ปีชวด สัมฤทธิศก หรือวันอังคาร เดือนอ้าย แรม 4 ค่ำ จ.ศ.1130 ชวดนี้ตรงกับวันที่ 28 ธันวาคม 2311
๔
และมีปรากฏในจดหมายเหตุของจีนเรื่องพระเจ้าตากสินปราบดาภิเษก และในจดหมายเหตุโหรบันทึกไว้ว่า
... ปีชวด จ.ศ.1130 ปีนี้เจ้าตากได้ราชสมบัติ อายุ 34 ปี (เข้าใจว่าจะไม่ทรงปราบดาภิเษกก่อนเดือนสิงหาคม 2311 เพราะในเดือนนั้นทรงมีพระราชสาส์นไปถึงพระเจ้าเขียนหลง กรุงปักกิ่ง ขอให้ทรงรับรองการสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น อ๋อง เมืองไทย ทรงลงพระนามในพระราชสาส์นนั้นว่า
|