หมายเหตุ : จากคำบอกเล่าต่อๆ กันมา คุณครูจิราวรรณ คงสมแสวง ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโพธิ์สาวหาญ เล่าว่ากำลังของชาวบ้านมีหญิงคนหนึ่งชื่อ “ นางโพ ” ได้ทำการรบอย่างกล้าหาญนำหน้าออกต่อสู้อย่างไม่เกรงกลัวหอกกลัวดาบพม่าจนกระทั่งตัวตาย ครั้นเสร็จสิ้นการรบสมเด็จพระเจ้าตากฯ ทรงตั้งชื่อเพื่อให้เป็นเกียรติประวัติแก่หมู่บ้านและนางโพว่า “ บ้านโพธิ์สาวหาญ ” ปัจจุบันชาวบ้านได้ปั้นรูปนางโพไว้เป็นที่ระลึก ให้ลูกหลานได้เห็นได้รู้เกียรติประวัติไว้ ณ หมู่ที่ 3 หมู่บ้านโพธิ์สาวหาญ ต. โพธิ์สาวหาญ อ. อุทัย จ. พระนครศรีอยุธยา

พระยาตากและพรรคพวกหนี ออกจากกรุงศรีอยุธยาได้โดยปลอดภัย และแลเห็นเพลิงไหม้กรุงศรีอยุธยาได้จากระยะไกล (ภาพจากหนังสือประดาบก็เลือดเดือด)

รูปปั้นนางโพ บ้านโพสาวหาญ (ภาพจากหนังสือสงคราม : ประวัติศาสตร์)

เมื่อได้รับชัยชนะแล้วพระยาวชิรปราการ จึงนำกำลังออกจากบ้านโพธิ์สาวหาญ มุ่งสู่บ้านพรานนก ระยะทางประมาณ 3 กม . ได้พักผ่อนจัดระเบียบกองกำลังใหม่ ระหว่างที่ทหารไทยไปหาเสบียงตามหมู่บ้านนอกที่ตั้ง ขณะนั้นมีทหารพม่ามาจากบางคาง ( ตรงที่สร้างป้อมเก่าเมืองปราจีนบุรี ) จะไปกรุงศรีอยุธยา มีจำนวนทหารม้า 30 ม้า ทหารราบประมาณ 200 คน