ปี พ.ศ.2307 กรุงศรีอยุธยามีคำสั่งให้พระยาตาก ( สิน ) กับพระยาพิพัฒนโกษา ( พระยาโกษาธิบดี ) คุมกองกำลังทางบกไปสกัดทัพพม่าที่เมืองเพชรบุรี ฝ่ายไทยได้ทำการสู้รบเป็นสามารถ ได้ขับไล่พม่าถอยไปทางด่านสิงขรไปอยู่ที่เมืองตะนาวศรี กองทัพไทยสามารถรักษาเมืองเพชรบุรีไว้ได้ (ทวน บุณยนิยม , 2513 : 35-36)
6.1 ขณะที่พม่ายกกำลังมาล้อมกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2309) นั้น สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงดำรงตำแหน่งอะไร ? ประทับอยู่ที่ไหน ?
ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ทรงดำรงตำแหน่งพระยาตาก เจ้าเมืองตาก สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์โปรดให้พระยาตากสินมาช่วยราชการสงครามในพระนครศรีอยุธยาเพื่อป้องกันทัพพม่า พระยาตากมีฝีมือการรบเข้มแข็ง มีบำเหน็จความชอบในสงคราม จึงได้เลื่อนเป็นพระยาวชิรปราการสำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร แทนเจ้าเมืองกำแพงเพชรเดิมซึ่งถึงแก่กรรม แต่พระยาวชิรปราการ(สิน) ยังหาได้ไปครองเมืองกำแพงเพชรไม่ เพราะต้องต่อสู้กับพม่าข้าศึกเพื่อรักษาพระนคร ( วีณา โรจนราธา , 2540 : 85)
พระยาวชิรปราการ ( สิน ) ได้เป็นนายกองคุมกองกำลังไปต้านทานทัพพม่าที่ เมืองมะริด แต่ไม่สามารถต้านทานกำลังพม่าได้ จึงต้องถอยเข้ามาตั้ง มั่นรักษา พระนคร ( กรมศิลปากร , คำให้การชาวกรุงเก่า : 168) แล้วรับหน้าที่คุมทัพเรือไปตั้ง ค่ายที่วัดป่าแก้ว ( วัดใหญ่ชัยมงคล ) เพื่อป้องกันไม่ให้พม่ายกทัพเข้าเมือง
การตีค่ายมังมหานรธา จากพระราชพงศาวดารพม่าฉบับคองบองได้เล่าเรื่องที่ไทยจัดทัพออกไปตีค่ายมังมหานรธาดังนี้
ในปีพ.ศ. 2309 ฝ่ายในกรุงก็จัดทัพใหญ่ส่งออกไปตีค่ายของมังมหานรธา กำลังที่ส่งออกไปในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กอง
ฝ่ายไทย ผู้บังคับบัญชา พระยาตานคุมกองหนึ่ง
พระยาวชิรปราการคุมกองหนึ่ง
กองกำลังประกอบด้วย ช้างศึก 400 เชือก รถบรรทุกปืนใหญ่ 1,000 กระบอก ทหาร 50,000 คน ช้างนั้นคลุมเกราะเหล็กถึงอก แต่ละตัวยังมีปืนใหญ่ประจำถึง 3 กระบอก
|