2. ภารกิจที่พม่ามอบให้แก่พระนายกองสุกี้ และนายทองอิน นั้นคือคอยค้นคว้าหาผู้คนและสืบหาทรัพย์สมบัติซึ่งยังตกค้างอยู่ส่งไปเมืองพม่า
จากทั้งสองข้อที่กล่าวมาแล้ว แสดงออกมาให้เห็นได้ว่า
2.1 การกระทำกับคู่ต่อสู้ และการย่ำยีผู้ที่แพ้แล้ว ด้วยการกระทำที่หยาบช้าสามานย์ เหี้ยมเกรียม ไม่ให้เกียรติแก่ผู้แพ้ ไม่สมกับที่ว่าพม่าก็เป็นเมืองพุทธที่เคร่งครัดประเทศหนึ่ง ที่กระทำกับประเทศที่แพ้ซึ่งก็เป็นเมืองพุทธเช่นเดียวกับพม่าเหมือนกัน
2.2 ส่อเจตนาให้เห็นว่า พม่าไม่ต้องการให้ไทยตั้งเป็นประเทศขึ้นมาเป็นคู่แข่งกับพม่าในย่านแหลมทองนี้ แม้จะเป็นได้ไม่นานก็ขอให้ได้สมใจพระเจ้ามังระชั่วระยะหนึ่งเป็นการสนองตัณหาที่มีอยู่
2.3 พฤติการณ์ที่กระทำไปนั้น สมกับเป็นการกระทำอย่างโจรของกองโจร มิใช่การกระทำของกองทัพอันมีเกียรติเช่นชายชาติทหาร ล้างราชธานี ย่ำยีจนหมดสิ้นแล้ว ยังไม่หนำใจ ด้วยความละโมภไม่มีที่สิ้นสุดยังตั้งตัวแทนทำนองสำนักงานดูแลผลประโยชน์ของตนไว้ถึงสองแห่ง เพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ส่งไปประเทศพม่าต่อไป เป็นไปในลักษณะขู่เข็ญบังคับ มิใช่ให้รัฐบาลผู้แพ้จัดส่งให้เป็นค่าปรับระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาลดังเช่นที่ประเทศอื่นๆ เขากระทำกัน ของที่ได้ไปในลักษณะโจรเหล่านี้ มีอยู่หลายชิ้นยังตั้งประจานอยู่ในพม่าตราบเท่าทุกวันนี้

3. ตามคำกล่าวที่ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต (การเสียกรุงครั้งที่ 1) กำลังย้อนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง มีพม่าข้าศึกมาติดเมือง คนไทยแตกความสามัคคี ยังอยู่จะเสียกรุงเท่านั้น บัดนี้เหตุการณ์ในอดีตได้ย้อนกลับมาครบถ้วน คือเสียกรุงแล้วสมกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตทุกประการ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำเป็นครั้งที่ 2 อย่างที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น (จรรยา ประชิตโรมรัน , 2536 : 185-186)

หมายเหตุ
สุกี้พระนายกอง หรือนายทองสุก คำว่า “ สุกี้ ” ที่เรียกกันในพงศาวดารเข้าใจว่าเป็นไทยเรียก เพี้ยนมาจากภาษาพม่าว่า “ ซุกคยี ” แปลว่า นายกอง ในคราวเสียกรุง พ.ศ.2310 นั้น สุกี้พระนายกองมีชื่อตามพงศาวดารว่า นายทองสุก เป็นมอญบ้านโพธิ์สามต้น พระนครศรีอยุธยา เมื่อพม่าเข้าล้อมพระนครศรีอยุธยา นายทองสุกไปเข้าเป็นฝ่ายพม่า ช่วยทำการรบอย่างแข็งขันจนเนเมียวสีหบดี ตั้งให้เป็นตำแหน่งสุกี้ และได้อาสาตีค่ายบางระจันสำเร็จ เมื่อพม่าได้กรุงศรีอยุธยาแล้วจะยกทัพ กลับจึงตั้งให้สุกี้เป็นนายทัพคุมพลพม่ามอญตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น คอยสืบจับผู้คนและเก็บทรัพย์สินสิ่งของ ต่างๆ ส่งตามไปภายหลัง ครั้นเมื่อ สมเด็จ พระเจ้าตาก สิน ตีค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้นได้ สุกี้ แม่ทัพได้สิ้นชีวิตในที่รบ แต่ในหนังสือสังคีติยวงศ์ที่แต่งในรัชกาลที่ 1 ว่าหนีไปได้