ถึงตอนนั้นก็ย่อมไม่เป็นการสายที่จะส่งกำลังตามตีซ้ำ เพื่อริบทรัพย์จับเชลย หลักฐานพงศาวดารพม่ายังมีระบุไว้หลายตอนว่าชาวพระนครต่อสู้ป้องกันการโจมตี ของพม่าอย่างเข้มแข็งระดมยิงต่อต้านไม่ให้ข้าศึกประชิดติดกำแพงได้ สาเหตุนี้เองที่ทำให้มังมหานรธาต้องเสนอต่อที่ประชุมทหารว่า การตีกรุงศรีอยุธยานั้นเห็นควรจะใช้ยุทธวิธีที่พระมโหสถ (Mahawthata) ใช้ลักพาพระนางปัญจาละจันที (Pancala Candi) โดยการลอบขุดอุโมงค์เข้าไปในเมืองปัญจาลราช และเรื่องการขุดอุโมงค์นี้ท้ายที่สุดได้นำมาใช้จริง เพราะเห็นว่าจะเป็นทางหลบรอดจากการตกเป็นเป้าปืนของฝ่ายอยุธยาได้ หลักฐานพม่านั้นระบุว่าอุโมงค์ที่ขุดนั้นมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 5 อุโมงค์ และในวันที่กรุงจะแตกนั้นพม่าได้สุมไฟเผารากกำแพงในอุโมงค์ที่ขุดมาหยุดตรงฐานราก ใส่เชื้อเพลิงเผากันไปจนกำแพงทรุด จากนั้นทหารพม่าก็เอาบันไดพาดปีนเข้าพระนครตรงจุดที่กำแพงพัง กำลังอีกส่วนหนึ่งก็เล็ดรอดเข้าทางอุโมงค์ 3 อุโมงค์ที่เตรียมไว้ หลักฐานพม่ายังระบุว่าทันทีที่ทหารพม่าเข้าพระนครได้ก็กระจายกันเข้าจุดไฟเผาบ้านเรือน วัดวาอารามริบทรัพย์จับเชลย ปล้นชิงของมีค่าตามความพอใจ ” (อ่านรายละเอียดการวิจารณ์ ท้ายบทนี้)

4.2 ไทยเตรียมกำลังรวมไว้ต่อสู้ในพระนครศรีอยุธยาดีหรือไม่อย่างไร ?
ในอดีต กรุงศรีอยุธยามีการป้องกันพระนคร โดยมีป้อมปราการเป็นกำแพงอิฐและสูงล้อมรอบ ตัว เมืองที่กว้าง ดังนั้นจึงสามารถ กัน มิให้ข้าศึกเข้าจู่โจมตีได้ สะดวก แม้กองทัพพม่าได้รุกล้อมรอบพระนคร การป้องพระนครก็กระทำกันอย่างเหนียวแน่นแข็งแรง

แต่ ยุทธศาสตร์ที่อาศัยพระนครเป็นปราการสำหรับให้ข้าศึกเข้าล้อม รอเวลาที่ทัพจากหัวเมืองมาช่วยตีกระหนาบนั้นใช้ไม่ได้มานานแล้ว ยุทธศาสตร์ใหม่ในการป้องกันตนเองอย่างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงใช้นั้นเป็นที่ยอมรับ นั่นก็คือต้องผลักดันมิให้ข้าศึกเข้ามาประชิดพระนคร (นิธิ เอียวศรีวงศ์ , 2540 : 137)

สุเนตร ชุตินธรานนท์ (2543 : 189 - 191) ได้แสดงความคิดเห็นดังนี้ “ ยุทธศาสตร์การใช้ตัวพระนครเป็นฐานรับศึกพม่ายังคงถูกนำมาใช้เป็นยุทธศาสตร์การตั้งรับพื้นฐาน ในการสงครามที่มีกับพม่าในสมัยปลายอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นคราวศึกอลองพญาในปี พ..2302 และในคราวสงครามเสียกรุงปี พ..2310 โดยเฉพาะในคราวสงครามเสียกรุง หลักฐานในพงศาวดารพม่า ทั้งพงศาวดารฉบับหอแก้ว หรือมานนานมหายาสะวินดอจี และพงศาวดารฉบับราชวงศ์คองบองต่างระบุต้องกันว่า พระมหากษัตริย์อยุธยา คือ พระเจ้าเอกทัศน์ทรงลอบวางแผนการรบว่าจะถ่วงให้พม่าล้อมกรุงอยู่จนถึงฤดูน้ำหลาก เมื่อพม่ามีอันต้องถอยทัพหนีน้ำก็จะส่งกำลังตามตีริบทรัพย์เชลย