การสร้างสะพาน ในชั้นต้นทำสะพานข้ามคูก่อน จากนั้นจึงสร้างค่ายใหม่ขึ้นอีก 3 ค่าย ประชิดแนวคูเมืองด้านทิศเหนือ เสร็จแล้วจึงเริ่มขุดอุโมงค์ พงศาวดารพม่าระบุว่า ฝ่ายไทยมิได้เพิกเฉยต่อการปฏิบัติการดังกล่าว ในการนี้พระมหามนตรี ( หรือจมื่นศรีสรรักษ์ในไทยรบพม่า) ได้ขันอาสาออกไปตีค่ายพม่าที่เข้ามาตั้งประชิดทั้ง 3 ค่าย พระเจ้าเอกทัศน์จึงทรงโปรดให้จัดพลออกไป 50,000 คน ช้าง 500 เชือก ปรากฏว่าในครั้งนี้พระมหามนตรีได้ทำการรบอย่างอาจหาญ สามารถยึดค่ายพม่าได้ทั้ง 3 ค่าย
แต่ภายหลังพม่าได้ส่งกำลังหนุนออกมาโอบล้อมทัพไทย จนเป็นเหตุให้พระมหามนตรีต้องนำกำลังถอนกลับเข้าเมือง
เหตุการณ์เดียวกันนี้พงศาวดารกรุงศรีอยุธยากล่าวถึงแต่เพียงสั้นๆ ว่า พม่ายกเข้ามาเผาพระที่นั่งเพนียด แล้วตั้งค่าย ณ เพนียด และวัดสามวิหาร วัดมณฑป จากนั้นก็ทำสะพานข้ามทำนบ รอเข้ามาขุดอุโมงค์ที่เชิงกำแพง และตั้งป้อมศาลาดิน ตั้งค่ายวัดแม่นางปลื้ม ต่อป้อมสูงเอาปืนใหญ่ขึ้นยิง แล้วจึงตั้งค่ายเพิ่มขึ้นอีกค่ายหนึ่งที่วัดศรีโพธิ์
ข้อพิจารณา
1. กลยุทธ์ที่พม่านำมาใช้ในการรบคราวนี้ก็คือ ปิดล้อมกรุงไว้ แม้น้ำจะท่วมก็ไม่ถอย จัดการดำเนินการ
- ยึดและรวบรวมเสบียงเท่าที่จะหาได้รอบๆ บริเวณนั้นไว้สำรอง
- รวบรวมวัวควายที่ยึดมาได้ ทำการเพาะปลูกในพื้นที่รอบๆ
- ผ่อนช้างม้าไปไว้ในพื้นที่ที่หญ้าอุดมสมบูรณ์
- ทหารที่ล้อมกรุงฯ ให้สร้างป้อมค่ายในพื้นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึง
- จัดกองระวังป้องกันระหว่างป้อมเป็นระยะๆ
- ถ้ามีกำลังภายนอกเข้ามาก็ช่วยสกัดกั้นไว้
2. กลยุทธ์ในการเข้าตีกรุงขั้นสุดท้าย พม่าเปลี่ยนจากการเอาบันไดพาดปีนข้ามกำแพง มา เป็นการขุดอุโมงค์มุดลงใต้กำแพง โดยดำเนินการเป็นขั้นๆ ดังนี้
1. การสร้างสะพาน
2. การสร้างป้อมค่าย
3. การขุดอุโมงค์
|