ในพระนคร เมื่อถูกพม่าล้อมมาช้านาน เสบียงอาหารอัตคัดเข้า เกิดโจรผู้ร้ายแย่งชิงกันชุกชุมขึ้นทุกที ครั้น ณ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 4 ค่ำ ปีจอ ( ตรงกับวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2309 ) เวลากลางคืนเกิดไฟไหม้ในพระนคร ไหม้ตั้งแต่ท่าทรายริมกำแพงด้านเหนือ ลุกลามมาทางประตูข้าวเปลือก แล้วไฟข้ามมาติดบ้านเรือนแขวงป่ามะพร้าว ตลอดไปถึงแขวงป่าโทน ป่าถ่าน ป่าตอง ป่ายา ไหม้วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ ไปจนถึงวัดฉัททันต์ ไฟไหม้กุฎีวิหารและบ้านเรือนในพระนคร รวมว่า 10,000 หลัง

ผู้คนพลเมืองก็ยิ่งอัตคัดคับแค้นหนักขึ้น พระเจ้าเอกทัศน์ให้ฑูต ( พระยากลาโหมและพวกลูกขุน ) ออกไป ที่ค่ายเพนียดเพื่อ กล่าวกับพม่าขอเลิกรบจะยอมเป็นเมืองขึ้นต่อพระเจ้ามังระ เนเมียว สีหบดี แม่ทัพพม่าก็ไม่ยอมเลิก ด้วยประสงค์จะตีเอาทรัพย์สมบัติผู้คนไปให้สิ้นเชิง

ในพงศาวดารพม่าว่า เนเมียวสีหบดีให้เข้าตีปล้นพระนครหลายครั้งแต่ตีไม่ได้ ด้วยไทยจวนตัวเข้าก็เกิดมานะต่อสู้แข็งแรง รบพุ่ง ต้านทาน พม่าแตกกลับออกไปทุกครั้ง จนพม่าต้องตั้งล้อมนิ่งอยู่อีกคราวหนึ่ง แต่ข้างในพระนครผู้คนอดอยากหนักเข้าก็พากันปีนกำแพงหนี ไปเป็นอันมาก ที่หนีรอดไปก็มี ที่หนีไม่พ้นยอมให้พม่าจับพอได้อาหารกินก็มี

เนเมียวสีหบดีเห็นว่าชาวพระนครอ่อนกำลังระส่ำระสายมากแล้ว จึงให้กองทัพพม่าที่ ค่ายวั ดกุฎีแดง วัด ส ามพิหาร และที่วัดมณฑปสมทบกันยกเข้ามาในเวลากลางคืน มาทำสะพานเรือก (สะพานปูด้วยไม้ถักหวาย) ข้ามน้ำตรงหัวรอ ริมป้อมมหาชัย ข้างมุมเมืองด้านตะวันออกเฉียงเหนือ อันเป็นลำน้ำแคบกว่าแห่งอื่น เอาไม้ตาลมาตั้งเป็นค่ายวิหลั่น (ค่ายที่ทำให้ขยับรุกเข้าไปหาข้าศึกทีละน้อย) ทั้ง 2 ข้าง กันปืนชาวพระนครมิให้ยิงถูกพวกพลทหาร แล้วก็ทำสะพาน เรือกมาฟากกำแพงพระนคร ฝ่ายข้างในกรุงฯ เห็นพม่าทำการล่อแหลมเข้ามาดังนั้น พระเจ้าเอกทัศน์จึงมีรับสั่งให้จมื่นศรีสรรักษ์คุมกำลังยกออกไปตีพม่าที่เข้ามาทำสะพาน ในพงศาวดารพม่ากล่าวว่า คราวนี้ไทยรบพุ่งแข็งแรงมาก ตีพวกพม่าแตก และฆ่าฟันล้มตายเสียมาก แล้วตามไปตีได้ค่ายพม่าอีกแห่งหนึ่งแต่ไม่มีกำลังหนุนไปพอแก่การ พม่าก็ช่วยกันตีแตกกลับมา แต่นั้นไทยก็มิได้ยกออกไปรบอีกต่อไป ครั้นพม่าทำ สะพาน เรือกเสร็จแล้วจึงเข้ามาตั้งค่ายที่ศาลาดินนอกเมือง แล้วขุดอุโมงค์ดินเข้ามาจนถึงเชิงกำแพงขนเอาฟืนมากองใส่ใต้ราก กำแพงเมือง แล้วเตรียมบันไดที่จะพาดกำแพง ปีน ปล้น เอา เมือง