เดิมนั้นพม่าจะใช้เส้นทางตามปกติเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยาสองทาง คือทางเหนือ ยกมาทางเชียงใหม่ หรือไม่ก็ยกเข้ามาทางตากและระแหง คือทางด่านแม่ละเมา และอีกทางหนึ่งคือทางตะวันตก เข้าทางด่านเจดีย์สามองค์ ...
3.4 แม่ทัพพม่าสมัยพระเจ้ามังระ 2 คน ที่นำทัพมาตีไทยชื่ออะไร ? มีการเดินทัพอย่างไร ?
ใน พ.ศ.2308 พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าได้ส่งแม่ทัพใหญ่ 2 คนคือ มังมหานรธา และ เนเมียวสีหบดี ยกทัพเข้ามา 2 ทางคือ ทางเหนือ และ ทางใต้ ดังรายละเอียดจากพงศาวดารคองบองกล่าวไว้ดังนี้
การเตรียมการจัดทัพของพม่า ( คองบอง ) ( พม่า พ.ศ.2307 )
การจัดกำลังพล พงศาวดารฉบับราชวงศ์คองบองกล่าวว่า พระเจ้ามังระทรงโปรดให้ เตรียมการ เข้าตีกรุงศรีอยุธยาล่วงหน้าเป็นเวลานานแล้ว ในชั้นต้นพระเจ้ามังระทรงโปรดให้เตรียมกำลังไว้ 27 กอง ประกอบด้วย ช้าง 100 เชือก ม้า 1,000 ตัว ทหาร 20,000 คน
แม่ทัพ เนเมียวสีหบดี
รองแม่ทัพ กะยอดินสีหตุ ( Kyawdin Thihgathu ) และคุเชงยามะจอ ( Tuyin Yamagyaw )
การเคลื่อนที่ กำลังทั้งหมดเคลื่อนที่ออกจากกรุงอังวะ เดือนมีนาคม พ.ศ.2307
ภารกิจ ปราบกบฏล้านนา เข้าตีล้านช้าง และมุ่งตรงมายังกรุงศรีอยุธยา
หลังจากที่เนเมียวสีหบดีรวบรวมกำลังจากหัวเมืองต่างๆ ในรัฐฉาน ปราบกบฏล้านนา และยึดหลวงพระบางได้แล้ว กำลังของเนเมียวสีหบดีเพิ่มขึ้นรวมเป็น 40,000 คน ( คำให้การของชาวอังวะว่า 5,000 คน ) (สุเนตร ชุตินธรานนท์, 2541 : 22)
พระเจ้ามังระเห็นว่ากองทัพของเนเมียวสีหบดีที่เคลื่อนที่ไปทางเชียงใหม่เพียงลำพัง ทัพเดียวคงไม่พอที่จะตีกรุงศรีอยุธยาให้แตกได้ จึงจัดกำลังอีกกองทัพหนึ่ง มีกำลังดังนี้
ช้าง 100 เชือก ม้า 1,000 ตัว ทหาร 20,000 คน
แม่ทัพ มังมหานรธา
รองแม่ทัพ เนเมียวกุณเย๊ะ ( Neimyou Gunaye ) และคุเชงยานองจอ ( Tuyin Yanaungyaw)
การเคลื่อนที่ กำลังในกองทัพเคลื่อนที่ไปสมทบกับกำลังอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเกณฑ์จากเมืองหงสาวดี เมาะตะมะ ตะนาวศรี มะริด และทวาย รวมกำลังได้ 30,000 คน กำลังทั้งหมดนี้เคลื่อนที่ออกจากทวายในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ.2308
ภารกิจ เข้าตีที่หมายเมืองเพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ไทรโยค และสวานโปง ก่อนพุ่งเข้ากรุงศรีอยุธยา
|