อลองพญารับสาส์นนั้นแล้วกริ้วนัก จึงเสด็จมายิงปืนใหญ่ด้วยพระองค์เอง บรรจุดินปืนมากไปปืนแตกต้องพระองค์เข้า จึงถอยทัพกลับ อลองพญาทิวงคตในระหว่างทาง ” ( http://www. worldbuddhism.net/buddhism-history/Burma.html , 14/7/2547 ) พอรุ่งขึ้นวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2303 พม่าก็พากันเลิกทัพ เคลื่อนที่ขึ้นไปทางเหนือหวังจะกลับออกไปทางด่านแม่ละเมา แต่ยังไม่พ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอลองพญาก็สิ้นพระชนม์ลงกลางทาง ที่ตำบลเมาะกโลก แขวงเมืองตาก (แต่เอกสารของพม่าบางฉบับบอกว่า เกิดฝีหัวช้างเม็ดใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นโรคเก่ามาแต่เดิม, เชาว์ รูปเทวินทร์, 2528 : 644)

พม่าถอยทัพ การถอยทัพครั้งนี้ เป็นการรีบร้อนไปในทันที มิได้มีเวลาเตรียมการ การขนปืนใหญ่ไปก็ไม่ทัน ต้องเอาลงฝังทิ้งไว้ในค่ายหลวง ต่อมาไทยขุดพบหลายสิบกระบอก ในชั้นแรกเมื่อพม่าถอยทัพกลับไป ไทยยังไม่รู้ว่าพระเจ้าอลองพญาประชวร คิดว่าพม่าทำการถอยเป็นกลอุบาย ก็มิได้ส่งกำลังติดตาม ครั้นรู้ว่าเลิกทัพกลับไปแน่ สมเด็จพระเจ้าอุทุมพรจึงสั่งให้พระยายมราช กับพระยาสีหราชเดโชชัย นำกำลังไล่ติดตามพม่า ตามไปจนถึงเมืองตากก็ไม่ทันข้าศึก แต่ถึงจะทันก็เห็นจะไม่มีประโยชน์อันใด เพราะเวลานั้นครั่นคร้ามพม่าเสียแล้ว พม่าจึงเดินทางกลับโดยสะดวก


ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสงคราม พ.ศ. 2302-2303
วันที่
เดือน
พ . ศ .
เหตุการณ์
    2302

พระเจ้าอลองพญาสั่งให้มังระนำกองทัพ มาตีเมืองตะนาวศรีและมะริดปลายปีนี้ พระเจ้าอลองพญาส่งกำลังเข้ารุกรานไทย

11 เมษายน 2303 กองทัพพม่าเคลื่อนที่ถึงกรุงศรีอยุธยา
23 เมษายน 2303 ทหารพม่า 2,000 คน เคลื่อนที่เข้าตีท้ายคูทั้งสองฟาก
29 เมษายน 2303 พม่าเอาปืนใหญ่มาตั้ง ณ วัดราชพลี วัดกษัตรา ยิงเข้าไปในพระนคร
30 เมษายน 2303

พม่าเอาปืนใหญ่เข้าที่ตั้งยิงที่วัดหน้าพระเมรุ และวัดหัสดาวาส ยิงพระราชวัง พระเจ้าอลองพญามาบัญชาการจุดชนวนปืนใหญ่เอง เผอิญปืนแตก ถูกพระองค์บาดเจ็บสาหัส

1 พฤษภาคม 2303 พม่าพากันเลิกทัพเคลื่อนที่ขึ้นไปทางเหนือ