...มีคลองหลายคลอง มีประตูน้ำทำด้วยเสาไม้ตะเคียน หรือไม้เต็งรังตอกปิดปากคลองสองชั้น แล้วเอาดินถมตรงกลางเพื่อป้องกันน้ำท่วมในหน้าน้ำ และกักน้ำไว้ใช้ในพระนครตอนหน้าแล้ง เช่น คลองฉะไกรใหญ่ (อยู่ท้ายวังออกแม่น้ำที่พุทไธสวรรย์) คลองประตูข้าวเปลือกต่อคลองประตูจีน (อยู่ตำบลท่าทรายออกแม่น้ำด้านใต้) คลองหอรัตนชัย คลองในไก่ (อยู่ใต้วังจันทร์เกษมด้านตะวันออกไปแม่น้ำริมป้อมเพชร) คลองประตูจีน (อยู่ด้านใต้เหนือคลองในไก่) คลองประตูเทพหมีหรือเขาสมี (อยู่ใกล้คลองประตูจีน) คลองฉะไกรน้อย (อยู่เหนือคลองประตูเทพหมี) คลองประตูท่าพระ มีบึงใหญ่ในกรุงเรียกบึงชีขัน (บึงพระราม) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำหรับใช้ในฤดูแล้ง เมื่อน้ำในแม่น้ำลดลงมาก
ภาพเขียน Afbeldine der Stadt Judiad
แสดงให้เห็นรูปทรงสันฐานของกรุงศรีอยุธยาว่าเป็น “ เกาะกลางแม่น้ำ ” แสดงผังเมือง ที่มีถนน และลำคลองเป็นเส้นทางคมนาคมตัดโยงใยกัน (ภาพจากหนังสืออยุธยา)

มีประตูน้ำสำหรับกั้นน้ำหลายประตูคือ ประตูข้าวเปลือก ประตูหอรัตนชัย ประตูสามม้า ประตูจีน ประตูเทพหมี ประตูฉะไกรน้อย ประตูฉะไกรใหญ่ ประตูหมูทะลวง มีประตูเมืองกว้างราว 6 ศอก มียอดทรงมณฑปทาดินแดงหลายแห่ง (ดูจากรูปผนังอุโบสถวัดยมและจากหนังสือโบราณ) เป็นประตูบก

เช่น ประตูศรีไชยศักดิ์ ประตูจักรมหิมา ประตูมหาไพชยนต์ ประตูมงคลสุนทร ประตูสมณพิศาล ประตูทวารเจษฎา ประตูกัลยาภิรมย์ ประตูอุดมคงคา ประตูมหาโภคราช ประตูชาตินาวา ประตูทักขิณาภิรมย์ ประตูพรหมสุคต ประตูทวารวิจิตร ประตูโอฬาริกฉัตร ประตูทวารนุกูล ประตูนิเวศวิมล ประตูทวารอุทก ประตูพระพิฆเนศวร ประตูศรีสรรพทวาร ประตูนครไชย ประตูพลทวาร ประตูแสดงราม ประตูสะเดาะเคราะห์ ประตูท่าพระ ประตูเจ้าปราบ ประตูชัย ประตูเจ้าจันทร์ ประตูช่องกุฎ ฯลฯ ประตูเมืองเหล่านี้ในปัจจุบันถูกทำลายหมด