ต่อสู้กับพม่าข้าศึกด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวถึง 7 ครั้ง ครั้งสุดท้ายพม่าให้สุกี้นายกองมอญซึ่งเคยมาอาศัยข้าวแดงแกงร้อนเมืองไทยกินจนเติบใหญ่ รู้ทางหนีทีไล่ยกกองทหารไปตีค่ายบางระจันด้วยการใช้ปืนใหญ่ยิงถล่มเข้าไปในค่าย จนชาวบ้านบางระจันบาดเจ็บล้มตายไปทุกวัน
ขุนสรรค์จึงพาชาวบ้านบางระจันส่วนหนึ่ง เดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาเพื่อขอพระราชทานปืนใหญ่ไปต่อสู้พม่า แต่สมุหกลาโหมได้กราบทูลไม่ให้ทรงอนุญาต โดยเกรงว่าปืนใหญ่ที่ให้ชาวบ้านบางระจันไปจะถูกพม่าชิงเอาไปเป็นอาวุธยิงถล่มกรุงศรีอยุธยา
พระอาจารย์ธรรมโชติ (วัดเขาบางบวช) จึงเป็นประธานหล่อปืนใหญ่สองครั้งสองหน แต่ปืนใหญ่แตกใช้การไม่ได้ หล่อครั้งที่สามยิงได้นัดเดียวปืนก็ระเบิดหมดหนทาง ในที่สุดชาวบ้านบางระจันจึงได้รวบรวมเด็กเล็กและสตรีที่อ่อนแอขึ้นเกวียนเล็ดลอดหนีภัยออกไปทางด้านหลัง
ตอนเช้าตะวันรุ่ง หลังจากกินอาหารมื้อสุดท้ายแล้ว ชาวบ้านบางระจันก็เปิดค่ายดาหน้ากันเข้าห้ำหั่นกับศัตรูอย่างกล้าหาญ โดยมิเสียดายชีวิต สุกี้นายกองได้สั่งให้ยิงปืนใหญ่ใส่ชาวบ้านบางระจันฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ที่เหลือฝ่าดงปืนใหญ่เข้าต่อสู้กับพม่าข้าศึกที่มีกำลังเหนือกว่ามาก จนตายกันหมดเลือดนองแผ่นดินไทย ค่ายบางระจันก็แตก เมื่อวันจันทร์เดือน 8 แรม 2 ค่ำ ปีจอ ใช้เวลาในการต่อสู้นาน 5 เดือน ในที่สุดพม่าก็สามารถเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้ได้ (สมพร เทพสิทธา, 2540 : 19-20)
ต่อมา ผู้รักผืนแผ่นดินไทย จังหวัดสิงห์บุรีพร้อมด้วย ประชาชนชาวไทยพร้อมใจกัน สร้างอนุสาวรีย์ เพื่อระ ลึกถึงความกล้าหาญ รักชาติและความเสียสละของบรรพบุรุษไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2519 และในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ของทุกปี ราชการกำหนดให้เป็นวันพิธีน้อมรำลึกถึงวีรกรรมของวีรชนตลอดมา ( http://kanchanapisek.or.th/kp8/sbr/sbr203.html , 15/7/2547)
|