ภาพซึ่งเชื่อว่าเป็นภาพของเจ้าฟ้าอุทุมพร ซึ่งถูกพม่าจับตัวไปหลังสงคราม พ.ศ.2310 (ภาพจากหนังสืออยุธยา)
ภายหลังการขุดแต่ง - ขุดค้น พบว่าโบราณสถานภายในวัดกุฎีดาวนี้ได้รับการสร้างขึ้นมาแต่สมัยอยุธยาตอนต้น โดยปรากฏร่องรอยการก่อพอกทับที่เจดีย์ประธาน และการสร้างอุโบสถซ้อนทับอยู่บนรากฐานของอาคารเดิมในสมัยอยุธยาตอนต้น ซึ่งน่าจะเป็นงานก่อสร้างคราวปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ พร้อมกับการสร้างพระวิหารและเจดีย์รายเพิ่มเติมภายในวัด
ทางด้านทิศเหนือนอกเขตกำแพงวัดยังปรากฏอาคารทรงตึก 2 ชั้น เรียกกันทั่วไปว่า “ พระตำหนักกำมะเลียน ” มีรูปแบบเช่นเดียวกับตำหนักมเหยงคณ์ และตำหนักวัดเจ้าย่า เชื่อว่าน่าจะเคยถูกใช้เป็นตำหนักที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าบรมโกศขณะ ทรงงานปฏิสังขรณ์วัดนี้ ( http://www.thai-worldheritage.com/thai/ayuth-monu-out-E.html , 15/7/2547)

2. สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร
ทรงเป็นกษัตริย์องค์ที่ 32 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงเป็นพระราช

โอรสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และสมเด็จพระพันวษาน้อย (กรมหลวงพิพิธมนตรี ซึ่งต่อมาได้เลื่อนเป็นกรมพระเทพามาตย์) เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงให้ลงโทษพระมหาอุปราช ( เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ ) ว่าเป็นชู้กับเจ้าฟ้าสังวาลย์ พระชายาของพระองค์ จนถึงแก่ทิวงคต ทั้งสองพระองค์ กรมหมื่นเทพพิพิธเสนาบดีกราบบังคมทูลกับสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ขอให้ทรงแต่งตั้งเจ้าฟ้าอุทุมพร ( หรือเจ้าฟ้าดอกมะเดื่อ ) ซึ่งในขณะนั้นเป็นกรมขุนพรพินิตขึ้นเป็นพระมหาอุปราชสืบแทนเจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์