กำแพงเมืองนครเชียงใหม่ และ ส่วนของที่เป็นแจ่งหัวริน 
แจ่ง หมายถึง แนวกำแพงเมืองเดิม คูเมือง และป้อมกำแพงเมืองทั้งสี่มุมเมืองได้แก่
แจ่งหัวริน แจ่งสรีภุม แจ่งกระต้ำและแจ่งกู่เรือง
(ภาพจากหนังสือ Seen: architectural forms of North Siam and old Siamese fortifications)

มื่อครั้งตีเมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.2317 ท่านเจ้าพระยาเจ้าเมืองสวรรคโลกทำการรบเป็นที่พอพระราชหฤทัย ได้รับพระราชทานพระแสงปืนสั้นกระบอกหนึ่ง แต่ต่อมาตอนตีเมืองเชียงใหม่ เช่นกัน ในวันพุธ เดือนยี่ ขึ้น 1 ค่ำ ทรงวางแผนให้ขุดคูล้อมเมือง ด้านค่ายเจ้าพระยาสวรรคโลกยังตั้งล้อมไม่ตลอด เจ้าเมืองเชียงใหม่ชาวพม่าคือ โปสุพลา และ โปมะยุง่วน พาครอบครัวหนีออกจากเมืองได้ทางประตูช้างเผือก ซึ่งเป็นทางด้านค่าย ของเจ้าพระยาสวรรคโลก โปรดฯ ให้พิจารณาโทษเจ้าพระยาสวรรคโลกว่ามิได้ปลงใจในราชการสงคราม ตั้งค่ายไม่ตลอดด้าน ไว้หนทางให้พม่าหนีไปได้ ให้ลงพระอาญาเฆี่ยน 50 ที แล้วจำครบไว้ และเข้าใจว่าคงจะถูกย้ายเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรีตั้งแต่นั้น

เจ้าพระยาพิชัยราชามิได้กลับไปรับราชการที่สวรรคโลกอีก เมื่อเกิดเรื่องถูกกริ้วจนถึงขั้นประหารเพราะขณะที่เจ้าพระยาพิชัยราชาอยู่ที่กรุงธนบุรี ได้แต่งเถ้าแก่ไปทูลขอเจ้าจอมปราง น้องของพระสนมเอกบุตรีเจ้านครศรีธรรมราช จึงถูกตัดศีรษะเสียบประจานเพื่อมิให้เป็นเยี่ยงอย่างต่อไป ท่านถึงแก่อสัญกรรมในราวปี พ.ศ.2319 เจ้าพระยาพิชัยราชา เป็นต้นสกุลบุญหลง พลางกูร และ กรีวัตร (ประพัฒน์ ตรีณรงค์, วารสารไทย 20 (12) : ตุลาคม – ธันวาคม 2542 “ แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” , 2542 : 13-20)