หรือตั้งชื่อให้เรียกขานคล้องจองกัน เพื่อลูกศิษย์จะได้ท่องจำและไม่ลืมง่าย ในอดีตมวยไทยไม่ได้ใส่นวมจะชกกันด้วยมือเปล่าหรือใช้ผ้าดิบพันมือจึงสามารถใช้มือจับคู่ต่อสู้เพื่อทุ่ม หัก หรือบิดได้ นักมวยจึงใช้ชั้นเชิงในการต่อสู้มากกว่าการใช้พละกำลัง จึงเกิดท่ามวยมากมาย ต่อมามีการกำหนดให้นักมวยไทยใส่นวม ในขณะขึ้นชกแข่งขันเช่นเดียวกับมวยสากล และมีการออกกฎกติกาต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่นักมวย และง่ายต่อการตัดสิน ท่ามวยที่มีมาแต่อดีตบางท่าจึงไม่สามารถนำมาใช้ในการแข่งขันได้ ถือว่าผิดกติกา และบางท่านักมวยก็ไม่สามารถใช้ได้ถนัดเนื่องจากมีเครื่องป้องกันร่ายกายมาก ท่ามวยบางท่าจึงถูกลืมเลือนไปในที่สุด (http://www.msu.ac.th/satit/stu_project/pj102-2-2546/thaiBoxing/, 24/8/2547)

ในพระราชพงศาวดารได้กล่าวถึงช่วงก่อนสิ้นกรุงศรีอยุธยาว่า เมื่อครั้งพระยาตากสินตีฝ่าวงล้อมพม่าออกมา หลวงพิชัยอาสาเป็นกำลังตีฝ่ากองทัพพม่าออกมาด้วย

เจดีย์เล็ก ณ วัดราชคฤห์
ที่เชื่อว่าบรรจุอัฐิพระยาพิชัย
(ภาพจากวารสารศิลปวัฒนธรรม)
หลังจากที่ซ่องสุมผู้คน และเตรียมกำลังรบอยู่ที่เมืองจันทบุรี จนพอเหมาะแก่การรุกไล่ทัพพม่าแล้ว เจ้าตากสินจึงยกกองทัพเรือขึ้นมาตีเมืองธนบุรีได้ แล้วให้หลวงพิชัยอาสาเป็นทัพหน้ายกขึ้นไปตีค่ายโพธิ์สามต้นได้สำเร็จ ครั้นเมื่อเจ้าตากได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งหลวงพิชัยอาสาให้เป็น เจ้าหมื่นไวยวรนาถ ทหารเอกราชองครักษ์ ครั้นเมื่อทรงปราบเจ้าพิมายได้แล้ว ก็โปรดฯ ให้เป็น พระยาสีหราชเดโชชัย ต่อมาในปี พ.ศ.2313 เมื่อปราบหัวเมืองเหนือได้แล้ว ก็โปรดให้รั้งเมืองพิชัย ตำแหน่งพระยาพิชัย มักเรียกขานกันว่า พระยาพิชัยอาสา

ตลอดระยะเวลาที่ทำสงครามปราบชุมนุมต่างๆ เพื่อรวมไทยให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พระยาพิชัยอาสา มีความจงรักภักดีและกล้าหาญมาก ได้ถือดาบออกหน้าทหาร และต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ เมื่อได้ครองเมืองพิชัยอยู่นั้น โปสุพลาได้ยกทัพลงมาตีเมืองพิชัย คราวนั้นพระยาพิชัยได้ถือดาบสองมือคุมทหารออกต่อสู้ป้องกันพม่าจนดาบหักไปข้างหนึ่ง (ศาสตราจารย์รอง ศยามานนท์ เขียนว่า ดาบหักทั้ง 2 มือ ดูรายละเอียดในบทนำ) เป็นที่เลื่องลือจึงได้นามว่า พระยาพิชัยดาบหัก มาจนถึงปัจจุบัน

เมื่อต้นปี พ.ศ.2325 ในขณะที่พระยาพิชัยดาบหักมีอายุได้ 41 ปี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ปราบดาภิเษกเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระมหากษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ พระยาพิชัยฯ ถูกเรียกตัวเข้าเฝ้ามีรับสั่งถามว่าจะอยู่รับราชการกับพระองค์หรือไม่ พระยาพิชัยฯ ทูลตอบอย่างกล้าหาญว่า