 |
โปรดควบคุมกองทัพเองอย่างใกล้ชิด ...เป็นธรรมเนียมของพระยาตากอย่างหนึ่งซึ่งต้องคุมกองทัพไปด้วยตนเองเสมอ ครั้นไปถึงเมืองคันเคาก็ได้มีชัยชนะ ผู้ใดทำผิดพระยาตากก็ลงโทษเสียสิ้น... (ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 39 เรื่องจดหมายเหตุของพวกคณะบาทหลวงฝรั่งเศส)
ทรงกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว
1. เมื่อตอนแรกที่เสด็จยกกองกำลังอันมีจำนวนพลเพียง 500 แหวกวงล้อมพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาไปได้ใหม่ๆ นั้น เมื่อเสด็จไปถึงบ้านพรานนก ก็ได้เกิดปะทะกันกับกองทัพพม่า ในขณะที่ปล่อยทหารให้เที่ยวออกลาดตระเวณ หาเสบียงอาหาร ทหารไม่ทันรู้ตัวจึงพากันแตกตื่นไม่เป็นกระบวน พระองค์ได้ตัดสินพระทัยแก้ไขเหตุการณ์ เฉพาะหน้าอย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว โดยเสด็จขึ้นม้าออกนำหน้า พาทหารเอกคู่พระทัยอีก 4 ม้า เข้ารบรับทัพพม่า ในทันที แล้วทรงมีบัญชาให้ทหารรีบรวบรวมกำลังกันเข้า ตั้งเป็นปีกกาออกรบแซงทั้งสองข้าง เข้าตีกระหนาบทัพพม่า ยังผลให้ทัพพม่าปราชัยล่าถอยกลับไปหมดสิ้น
ประชุมพงศาวดารภาคที่ 65 บันทึกเรื่องราวในตอนนี้ไว้ดังนี้
... จึงหยุดประทับแรมอยู่บ้านพรานนก ฝ่ายทแกล้วทหารออกไปลาดเลี้ยวเที่ยวหาอาหาร จึงพบกองทัพพม่ายกมาแต่บางคาง พม่าไล่ติดตามมาถึงที่ประทับ จึงเสด็จขึ้นมากับทหารม้า 4 ม้าแกมารบกับพม่าก่อน กองทัพทั้งปวงจึงตั้งปืนปีกกาออกรบแซงล่อ ข้างกองทัพพม่า 30 ม้าแตกล่นไป ถึงพลเดินเท้า 2,000 ก็กระจายไป ฝ่ายทแกล้วทหารเห็นกำลังบุญฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ดังนี้ ก็ยกย่องว่าเป็นจอมกษัตริย์สมมุติวงศ์
2. ตอนตีเมืองจันทบุรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2310
... จึงเสด็จทรงช้างพระที่นั่งพังคิรีกุญชรฉัททันต์เข้าทลายประตูใหญ่ เหล่าทหารซึ่ง รักษาประตูและป้อมเชิงเทินนั้น ก็ยิงปืนใหญ่น้อยดุจดังห่าฝน แลจะได้ถูกต้องโยธาผู้หนึ่งผู้ใดหาไม่ กระสุนปืนลอดท้องช้างพระที่นั่งไป ควาญช้างจึงเกี่ยวไว้ให้พังคีรีกุญชรถอยออกมา พระเจ้าอยู่หัวทรงพระโกรธ เงื้อพระแสงจะลงพระราชอาญา นายควาญช้างขอพระราชทานโทษได้ จึงทรงพระแสงกฤชแทงพังคีรีกุญชรขับเข้าทลายประตูพังลง ทหารหน้าช้างลอดเข้าไปได้ ...
( ประชุมพงศาวดารที่ 65) แปลว่า มิได้ทรงหวาดหวั่นพรั่นพรึงต่อกระสุนปืนใหญ่น้อย ที่ระดมยิงออกมาเป็นห่าฝน เข้าใส่พระองค์...
3. เมื่อคราวที่เสด็จกรีธาทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ครั้งแรกในปี 2313 ทรงเห็นว่าครั้งนั้นจะ ยังไม่สามารถตีเมืองเชียงใหม่ได้ ก็โปรดให้กองทัพถอยกลับมาก่อน |
|
|