วันที่ 14 มกราคม ทูตได้เข้าเฝ้าและร่วมชมการละเล่นกับพระเจ้ากรุงจีน
วันที่ 15 มกราคม ทูตได้รับเชิญไปงานเลี้ยงอีกครั้งหนึ่ง เมื่อทูตสยามจะเดินทางกลับ พระเจ้ากรุงจีนได้โปรดพระราชทานสิ่งของให้เจิ้นเจ้าตามระเบียบของการส่งเครื่องราชบรรณาการ

ในฤดูร้อนปีที่ 47 (พ.ศ.2325) รัชกาลพระเจ้าเฉียนหลง เมื่อราชทูตสยามได้นำของขวัญกลับมาจากจีน ระหว่างการเดินทางก่อนที่จะถึงสยาม เจิ้นเจ้าก็ถูกปลงพระชนม์ จากจดหมายเหตุจีนกล่าวว่า ในปีรัชกาล ปีสุดท้ายของเจิ้นเจ้า นั้น เจิ้นเจ้าเป็นโรคอัมพาต ดังนั้นพระชามาดา ( ลูกเขย ) จึงได้ควบคุมดูแลไว้ แต่บางกระแสก็ว่าวิกลจริต เพราะบางครั้งคิดว่าตนเป็นพระพุทธเจ้า จึงทำผิดต่างๆ เพื่อให้คนบูชาตน ทั้งยังให้เฆี่ยนพระสงฆ์และบุคคลที่ไม่พอใจ ดังนั้นประชาชนจึงไม่พอใจ อย่างไรก็ดี ทางจีนก็ไม่เชื่อถือเท่าไรนักเพราะมีความที่กล่าวว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ไม่อาจจะเชื่อถือได้ เพราะเหตุผลที่เจิ้นเจ้าถูกปลงพระชนม์นั้นเป็นปัญหาทางทหาร เพราะหนันอุนน่าเป็นกบฏ เจิ้นเจ้าถูกประหารชีวิตที่วัด “ เจิ้นซื่อโฝเตี้ยน ” ( วัดบางยี่เรือใต้ - วัดอินทาราม ) แล้ว เจ้าพระยาจักรี ก็ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่า “ เจิ้นหัว ” ( แปลว่า ผู้ดำรงความยิ่งใหญ่ ) ด้วยจีนเข้าใจว่าเป็นลูกเขยของเจิ้นเจ้า และใช้ชื่อเจิ้นหัวเป็นการอ้างสิทธิในการครองราชย์

ต่อมาในปี ค.ศ.1786 (พ.ศ.2329) อันเป็นปีที่ 51 รัชกาลพระเจ้าเฉียนหลง ราชสำนักราชวงศ์ชิงได้ยอมรับ เจิ้นหัว เป็นกษัตริย์ของสยาม

เรื่อง การออกพระนามเป็นภาษาจีน นั้น ประโยชน์สำคัญที่ได้จากการนี้ก็คือ ความสะดวกในการส่งราชฑูตไปกระชับสัมพันธไมตรีกับจีนเพื่อประโยชน์ทางการค้า อันเป็นธรรมเนียมประเพณีในการติดต่อค้าขายระหว่างไทยกับจีนมาช้านานแล้วนั่นเอง นอกจากนี้ ถ้าหากออกพระนามเป็นภาษาไทยแล้ว ก็จะยืดยาวและฟังยากยิ่งสำหรับคนจีน จึงต้องกำหนดพระนามเป็นภาษาจีนขึ้นมา เพื่อให้ทางเมืองจีนเข้าใจและจดจำได้ง่าย จึงกลายเป็นราชประเพณีสืบต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5

ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชถึงพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้พระนามภาษาจีนขึ้นต้นว่า “ เจิ้น ” ทั้งสิ้น เช่น เจิ้นฝู ( ร .2 - ผู้ดำรงในบุญ ) เจิ้นหมิง ( ร .4- ผู้สว่างไสว ) และทรงใช้พระนามนี้เวลาส่งเครื่องราชบรรณาการไปจีน แต่เสทื้อน ศุภโสภณ (2527 : 57) และพิมพ์ประไพ พิศาลกุล (2541 : 190) กล่าวว่า พระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีก็ยังคงทรงใช้พระนามในพระราชสาส์นที่มีไปยังประเทศจีน ด้วยการขึ้นต้นด้วยคำว่า “ แต้ ” สืบต่อมา 5 รัชกาล กล่าวคือ