ระยะนั้นเกิดการจลาจลขึ้นในเมืองเขมร ผู้ครองเมืองจัมปาศักดิ์ ฟ้าทะละหะ (มู) เป็นกบฏต่อพระรามราชา (นักองค์โนนหรือนนท์) กษัตริย์เขมรผู้ที่ไทยได้แต่งตั้งให้ครองอยู่ แล้วฟ้าทะละหะ (มู) ได้หันไปขอความช่วยเหลือจากญวน เจ้านายเขมรระหว่างนั้นยังเหลืออยู่แต่นักองค์เองโอรสของสมเด็จพระนารายณ์ราชา (นักองค์ตน) ซึ่งยังทรงพระเยาว์อยู่ (ขณะนั้นพระชนม์ 4 พรรษา) ครองเมืองเขมรโดยมีฟ้าทะละหะ (มู) เป็นผู้สำเร็จราชการ และพยายามตีตนออกหากจากไทย ดังนั้น ในพ.ศ. 2323 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี จึงส่งกองทัพไปเขมร มีสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพใหญ่ และให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ไปในกองทัพด้วย มีรับสั่งว่าถ้าปราบปรามเมืองเขมรเรียบร้อยแล้ว ให้อภิเษกเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ครองกรุงกัมพูชา ต่อไป |
พระราชวังเก่าของจักรพรรดิเวียดนาม ที่เมืองเว้
(ภาพจากวารสารศิลปวัฒนธรรม) |
หมายเหตุ : ความในพระราชพงศาวดารตรงนี้มีความสันนิษฐาน ของท่านผู้ศึกษาโบราณคดี ว่า ที่พระเจ้ากรุงธนบุรีให้พาเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ ไปอภิเษกเป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชานั้น มูลเหตุอาจจะเป็นด้วยทรงพระราชดำริ ถึงการสืบสันตติวงศ์ในกรุงธนบุรี ด้วยลูกเธอที่สำคัญในเวลานั้น มี 2 พระองค์ คือเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์นี้พระองค์หนึ่ง เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ ซึ่งเรียกกันว่าเจ้าฟ้าเหม็น (ที่เป็นกรมขุนกษัตรานุชิตเมื่อในรัชกาลที่ 1 ) พระองค์หนึ่ง เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ถึงยังทรงพระเยาว์อยู่ในเวลานั้นก็จริง แต่เป็นพระนัดดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระเจ้ากรุง |
ธนบุรีปลงพระทัยจะให้เจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์เป็นผู้รับรัชทายาท จึงตั้งเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ให้ไปครองกรุงกัมพูชา เพื่อจะมิให้เกิดแก่งแย่งในการสืบสันตติวงศ์ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงเห็นว่าความวินิจฉัยข้อนี้ชอบกลอยู่จึงได้จดลงไว้ (สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ , พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 2, 2459 : 75-76 ) |