1. ชั้นไพร่พล ได้แก่ 1.ไอ้อิน 2. ไอ้จันท์ 3. ไอ้มั่น 4. ไอ้คง
2. ชั้นหัวหมู่ ได้แก่ 1.จ่าเรศวร์ 2. จ่ารงค์ 3. จ่ายง 4.จ่ายวด
3. ชั้นนายหมวด ได้แก่ 1.นายกวด 2.นายเสน่ห์ 3.นายเล่ห์อาวุธ 4.นายสุจินดา (บางที่เรียก นายสุดจินดา)
4. ชั้นนายกอง ได้แก่ 1.หลวงศักดิ์ 2.หลวงสิทธิ์ 3.หลวงฤทธิ์ 4.หลวงเดช

ในจำนวนจตุรงคเสนาหรือเสนามีองค์สี่นี้มีใคร ยืนอยู่ตรงไหนบนลายแทงของผ้าประเจียดผืนนี้บ้าง ซึ่งจะพบว่าดังนี้
1-2-3-4 = คือ หลวงศักดิ์ หลวงสิทธิ์ หลวงฤทธิ์ หลวงเดช
5-6-7-8 = คือ จ่าเรศวร์ จ่ารงค์ จ่ายง จ่ายวด
9-10-11-12 = คือ นายกวด นายเสน่ห์ นายเล่ห์อาวุธ นายสุจินดา
13-14-15-16 = คือ ไอ้อิน ไอ้จันท์ ไอ้มั่น ไอ้คง
17 = ธงฉาน คือ ธงนำหน้าขบวนเสด็จและดาบหน้า
18 = ธงริ้ว คือ ธงตามหลังขวนเสด็จและดาบหลัง
19-20 = เรียกว่า “ วชิรปราการ ” หรือ “ กำแพงเพชร์ ” เป็นแถวอารักขาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
21 = เสือในช่องกลาง คือสมเด็จพระเจ้าตากสิน ซึ่งทรงพระราชสมภพเมื่อปี จ.ศ.1096 ตรงกับปีขาล พ.ศ.2277

อย่างไรก็ดี โปรดสังเกตดูให้ดีๆ จะเห็นได้ว่าตรงกลางของ “ กำแพงเพชร์ ” (หมายเลข 19 และ 20) ทั้งที่ด้านซ้ายมือและด้านขวามือนั้น มีการลงอักขระเป็นบรรทัดยาวด้วยอักษร “ อารบิค ” ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งเมื่อได้สอบถามโต๊ะครูผู้มีความรู้ในเรื่องผ้ายันต์และอักขระอารบิคเป็นอย่างดีแล้ว ท่านดะโต๊ะก็ได้อธิบายให้ฟังว่า อักขระอารบิคที่จารึกอยู่นั้น เป็นคำสวดสรรเสริญพระเจ้า และเป็นคำสอนของพระนะบี มูฮัมหมัด (ชอล) เพื่อขอความคุ้มครองปลอดภัยและขอให้ประสบชัยชนะในการยุทธ์

ระหว่างที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประทับอยู่ ณ เมืองนครศรีธรรมราชนี้ พระองค์ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจหลายประการอันเกี่ยวแก่การปกครอง การพระศาสนามากมาย มีเหตุการณ์ที่ได้มีบันทึกบางประการ เช่น มีการเสด็จบัญชาการดับเพลิงที่เกิดไหม้ขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราช ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศไปทั่วทั้งกองทัพ ห้ามมิให้ไพร่พลไทยจีนทั้งปวงฆ่าโค กระบือ และมิให้ข่มเหงสมณะพราหมณ์และบรรดาประชาราษฎร์ให้ได้รับความเดือดร้อน