การตวง
8 ฟายมือ = 1 ทะนาน ( ฟายมือ หมายถึง อุ้งมือ )
20 ทะนาน = 1 ถัง (25 ทะนาน = 1 สัด = 20 ลิตร )
100 ถัง = 1 เกวียน (80 สัด = 1 เกวียน )

ไทยตามประเพณี : มีการปรับให้เข้ากับระบบเมตริกได้ค่าดังนี้
1 ทะนาน = 1 ลิตร
2,000 ทะนาน = 1 เกวียนหลวง = 2,000 ลิตร

การชั่ง
25 สตางค์ เป็น 1 สลึง (1 สตางค์ = 0.15 กรัม )
4 สลึง เป็น 1 บาท (1 สลึง = 3.75 กรัม )
4 บาท เป็น 1 ตำลึง (1 บาท = 15 กรัม )
20 ตำลึง เป็น 1 ชั่ง (1 ตำลึง = 60 กรัม ) (1 ชั่ง = 1.2 กิโลกรัม )

การวัด
1 นิ้วไทย (2.08 เซนติเมตร ) (นิ้วอังกฤษ <inch> 2.5 เซนติเมตร )
4 นิ้ว เป็น 1 กระเบียด (8.33 เซนติเมตร )
3 กระเบียด เป็น 1 คืบ (25 เซนติเมตร )
2 คืบ เป็น 1 ศอก (50 เซนติเมตร )
4 ศอก เป็น 1 วา (2 เมตร )
20 วา เป็น 1 เส้น (40 เมตร )
400 เส้น เป็น 1 โยชน์ (16 กิโลเมตร )

(ตรงใจ หุตางกูร . 2545. http://www.sac.or.th/webboard/info/Question.asp?ID=312 , 02/12/47)

ตารางเทียบศักราช
สำหรับกลียุคกาล, พุทธศักราช, วิกรมสังวัต, คริสต์ศักราช, มหาศักราช, จุลศักราช, รัตนโกสินทร์ศก

ศักราช
ปีกลียุค
พ.ศ.
วิกรมสังวัต
ค.ศ.
ม.ศ.
จ.ศ.
ร.ศ.
กลียุคกาล
0
พศ + 2559 สัง + 3045 คศ + 3102 มศ + 3180 จศ + 3740 รศ + 4983
พุทธศักราช
กลี - 2559
0
สัง + 486 คศ + 543 มศ + 621 จศ + 1181 รศ + 2424
วิกรมสังวัต
กลี - 3045 พศ + 486
0
คศ + 57 มศ + 135 จศ + 695 รศ + 1938
คริสต์ศักราช
กลี - 3102 พศ + 543 สัง – 57
0
มศ + 78 จศ + 638 รศ + 1881
มหาศักราช
กลี - 3180 พศ + 621 สัง - 135 คศ – 78
0
จศ + 560 รศ + 1803
จุลศักราช
กลี - 3740 พศ + 1181 สัง - 695 คศ - 638 มศ - 560
0
รศ + 1243
รัตนโกสินทรศก
กลี - 7983 พศ + 2424 สัง – 1938 คศ – 1881 มศ - 1803 จศ - 1243
0

วิธีใช้ หา “ ศักราชที่ต้องการ ” ในคอลัมน์ซ้ายมือ แล้วดูตามแถวนั้นทางขวามือจนพบสูตรที่ต้องการ เช่น ต้องการทราบปีมหาศักราชของปีพุทธศักราช 2545 ให้หา มหาศักราช ในคอลัมน์ซ้ายมือแล้วดู สูตร ในแถวนั้นทางขวามือ จะเห็นว่าสูตรที่ต้องการคือ มหาศักราชเท่ากับ พ.ศ. – 621
เพราะฉะนั้นพ.ศ.2545 = พ.ศ. – 621 = 2546 – 621 = มหาศักราช 1924

หมายเหตุ สูตรเหล่านี้มีทางคลาดเคลื่อนได้ 1 ปี เพราะการขึ้นปีใหม่ของแต่ละศักราชไม่ตรงกัน
กลียุค ขึ้นปีใหม่วันที่ 18 กุมภาพันธ์
พุทธศักราชในไทยแต่ก่อนขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน แล้วมาเปลี่ยนเป็นขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม ตั้งแต่ พ.ศ.2484
ปีมหาศักราชในอินเดียเรียก “ ศกาพทะ ” ยังใช้กันอยู่อย่างกว้างขวาง ขึ้นปีใหม่ในเดือนไจตระ ( ประมาณเดือนเมษายน )
ศักราชวิกรมสังวัตในอินเดียเหนือขึ้นปีใหม่ประมาณเดือนไจตระ และขึ้นเดือนใหม่ในวันขึ้นค่ำหนึ่ง

(วิสุทธ์ บุษยกุล, 2547 : 477)