7. การใช้โวหารสาธก (Allusion)
โวหารสาธก หรือโวหารท้าวความในเรื่องนี้มีอยู่หลายตอน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมตะวันตก จึงเป็นเรื่องค่อนข้างเข้าใจยากสำหรับผู้อ่านเรื่องแปลที่เป็นคนไทย ดังนั้นบางตอนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงพระราชนิพนธ์คำอธิบายเอาไว้ด้วย มีอยู่ตอนหนึ่งที่ทรงยกเอานิทานศรีธนญชัย ซึ่งเป็นนิทานพื้นบ้านของไทยมาเป็นนิทานสาธกประกอบเหตุการณ์ ทำให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังตัวอย่างข้อความต่อไปนี้
- ปัจจุบันหน่วยราชการลับกลาง ซี.ไอ.เอ. กลายเป็นเป้าหมายเอกสำหรับพวกที่ตั้งหน้าตั้งตา จะปลดอาวุธเราโดยสิ้นเชิงและตั้งข้อหาจะจริงหรือเท็จ (ก็เอาทั้งนั้น) ว่ามีการทุจริตคดโกงว่าต้อง ซักฟอกล้าง ให้สะอาดแบบ ศรีธนญชัยอาบน้ำให้น้อง (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยกเรื่อง ศรีธนญชัย นิทานพื้นบ้านของไทย เป็นเรื่องที่เล่าสืบต่อๆ กัน ศรีธนญชัย เป็นคนฉลาดแกมโกง มีใจคอโหดเหี้ยม ขาดคุณธรรม และสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น วันหนึ่งพ่อแม่ของศรีธนญชัยต้องออกไปทำไร่ทำนาจึงสั่งความไว้ว่า ให้ศรีธนญชัยอาบน้ำให้น้องให้สะอาดหมดจด ศรีธนญชัยก็ทำตามด้วยการฆ่าน้องแล้วเอาไส้เอาพุงออกมาล้างจนหมด สร้างความทุกขเวทนาให้กับพ่อแม่เป็นอย่างยิ่ง แต่ด้วยความฉลาดแกมโกงนี้เอง ทำให้ศรีธนญชัยได้เข้ารับราชการ) เป็นการทำลายอุปกรณ์สำคัญอันดับแรกที่เราจะใช้ป้องกัน ซึ่งเราได้สร้างขึ้นด้วยความลำบากยากเย็นแสนเข็ญ ตอนสงครามโลกครั้งที่สอง (น.11)
- เขาเดินอุ้ยอ้ายกลับไปกลับมาในห้องนั้นเหมือนตัว ฮัมป์ดี ดัมป์ดี (Humpty. Dumpty - ตัวที่มีรูปร่างเป็นไข่ในกลอนสำหรับเด็ก)
- ทุกแห่งทุกหนที่ แมรี่ ไป ลัมภ์ (เหมือนในเพลงสำหรับเด็กว่าหนูแมรี่มีแกะตัวเล็ก และทุกหนแห่งที่เธอไป แกะตัวนั้นก็ต้องแกะรอยไปด้วยเสมอ) ก็จะต้องติดตามไปด้วยเสมอ (น.271)
การใช้โวหารปฎิพจน์ (Paradox)
โวหารปฏิพจน์ เป็นการใช้ภาษาขัดความกันที่ทำให้มีรสชาติแปลกไปจากปกติ โวหารประเภทนี้พบอยู่ในพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนี้บ้าง เช่น |