พระราชกระแสที่ได้ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณชี้แจงแก่ผมนั้น แสดงให้เห็นว่า พระปรีชาสามารถ ความเป็นพหูสูตร พระราชอัจฉริยภาพใน วิชาการสถิติศาสตร์ ไม่แพ้สาขาวิชาการอื่ น ๆ ที่พวกเราไม่เคยได้ยินได้ฟังกันมาแต่ก่อน ”
(สุชาติ เผือกส กนธ์ , พลตำรวจตรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับทฤษฎีความน่าจะเป็น. 2541 [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.dabos.or.th//ro8.html)


2. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับวิชาโหราศาสตร์
พลตำรวจตรีสุชาติ เผือกสกนธ์ ได้กล่าวไว้ว่า
“ ในหนังสือพระราชนิพนธ์เรื่อง “ พระมหาชนก ” ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์จำหน่ายและได้พบว่าในภาพประกอบการเดินทางทางทะเลของพระมหาชนกนับตั้งแต่วันออกเดินทาง วันที่เรือพระที่นั่งถูกพายุในทะเลจนอับปาง จนถึงวันที่นางมณีเมขลามาช่วย มีรูปดวงชะตาแสดงที่ตั้งของดาวพระเคราะห์ต่างๆ ในวันเกิดเหตุไว้ทุกภาพ (หน้า 54-57 ฉบับปกอ่อน)

ผมในฐานะนักศึกษาวิชาโหราศาสตร์คนหนึ่งจึงอดไม่ได้ที่จะพิจารณาดูดวงชะตาเหล่านี้ โดยเฉพาะในวันที่เกิดพายุรุนแรงขึ้นจนเป็นเหตุให้เรือพระที่นั่งของพระมหาชนกอับปางนั้น ดาวพระเคราะห์ต่างๆ สถิตอยู่ในราศีใดบ้าง เพื่อประกอบการศึกษาค้นคว้าวิชาการนี้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง กับอิทธิพลของดาวพระเคราะห์กับอุบัติภัยธรรมชาติต่างๆ ที่เรียกว่า Mundane Astrology ในดวงชะตาที่อ้างถึงได้แสดงที่ตั้งของดาวพระเคราะห์ต่างๆ ไว้ ดังนี้
1. ดาวอาทิตย์สถิตในราศีเมษ
2. ดาวจันทร์สถิตในราศีมังกร
3. ดาวอังคารสถิตในราศีมีน
4. ดาวพุธสถิตในราศีเมษ
5. ดาวพฤหัสบดีสถิตในราศีตุลย์
6. ดาวศุกร์สถิตในราศีพฤษภ
7. ดาวเสาร์สถิตในราศีกุมภ์
8. ดาวราหูสถิตในราศีพิจิก
9. ดาวเกตุสถิตในราศีเมษ
10. ดาวมฤตยูสถิตในราศีมังกร
11. ดาวเนปจูนสถิตในราศีธนู
12. ดาวพลูโตสถิตในราศีพิจิก


ในบทพระราชนิพนธ์ได้ทรงระบุวันเดือนที่เกิดเหตุไว้ประกอบดวงชะตาว่า เป็นวันที่ 2 พฤษภาคม ส่วนปีและเวลาที่เกิดเหตุมิได้ทรงระบุไว้เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนพุทธกาล ส่วนวันที่นางมณีเมขลามาช่วยนั้นเป็นวันที่ 9 พฤษภาคม หลังจากวันที่พระมหาชนกได้ทรงพระวิริยะว่ายน้ำอยู่ในมหาสมุทรมาแล้วเป็นเวลา 7 วัน