5. การใช้โวหารสาธก (Allusion)
โวหารสาธก เป็นศิลปะการใช้เรื่องราว นิทาน หรือ เรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่งมาประกอบจะทำให้สามารถ เข้าใจเหตุการณ์ในท้องเรื่องได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
-
นับแต่คราวลงเรือมุ่งสู่สุวรรณภูมินั้น ก่อนคลื่นยักษ์มากระหน่ำนาวา เราได้ยินพาณิชชาวสุวรรณภูมิพูดกัน เป็นภาษาสุวรรณภูมิว่า : โน่นปูทะเลยักษ์สู้กับปลาและเต่า. และว่าผู้ใดเหยียบปูนั้น จะได้เป็นผู้ยิ่งใหญ่ หากมีความเพียรแท้ .
(พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก หน้า 136)
การนำเอานิทานที่เคยได้ยินได้ฟังกันมาแล้ว มาเล่าเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในท้องเรื่อง เป็นศิลปะการเล่าที่ช่วยสร้างภาพในจินตานาการให้แก่ผู้อ่านได้ไม่น้อย เพราะเป็นการเชื่อมโยงความรู้หรือประสบการณ์เดิมซึ่งมีอยู่แล้ว เข้ากับเรื่องใหม่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ดังนิทานของชาวสุวรรณภูมิเรื่องปูทะเลยักษ์สู้กับปลาและเต่า ซึ่งนำมาเป็นนิทานเปรียบเทียบถึงความเพียรพยายามของพระมหาชนกที่เมื่อถึงที่สุด ย่อมจะบรรลุผลเพราะมีบุญญาธิการคือผลแห่งความเพียร มาช่วยมิให้จมน้ำเป็นภักษาหารของสัตว์ทะเลเหมือนผู้อื่น
พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก ภาษาอังกฤษ : Mahajanaka
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก (Mahajanaka) ภาคภาษาอังกฤษ ขึ้นก่อนภาคภาษาไทย เมื่อได้เปรียบเทียบพระราชนิพนธ์ทั้งสองภาคโดยตลอดแล้ว อาจกล่าวได้ว่าเนื้อความตรงกันโดยตลอด แม้ลักษณะของการเรียบเรียงสำนวนโวหาร ตลอดจนการเรียบเรียงประโยคก็มีโครงสร้างส่วนใหญ่ตรงกัน ตั้งแต่หน้าแรกกระทั่งหน้าสุดท้าย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
|