 |
ศิลปะการใช้โวหาร
การใช้โวหารภาพพจน์ หรือโวหารลักษณ์ เป็นวรรณศิลป์ที่ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์โดยตลอดทั้งเรื่อง ช่วยให้เกิดความไพเราะ ก่อให้เกิดจินตนาการ และสามารถเข้าใจเรื่องราวได้ชัดเจนและลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โวหารภาพพจน์ที่พบมากในพระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก มีดังต่อไปนี้ 1. การใช้โวหารอุปมา (Simile)
โวหารอุปมาเป็นโวหารความเปรียบ ที่ช่วยให้เกิดภาพที่มีความชัดเจน และเสริมสร้างจินตนาการให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้
- ประสูติพระโอรส มีวรรณะดังทอง.
(พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก หน้า 38)
- น้ำโดยรอบมีสีแดงเหมือนโลหิต
(พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก หน้า 58)
- พระมหาสัตว์เป็นไปอยู่ในคลื่นซึ่งมีสีดังแก้วมณี เหมือนท่อนต้นกล้วยทอง
(พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก หน้า 58)
- นางจึงอุ้มพระมหาสัตว์ขึ้นดุจคนยกกำดอกไม้ ใช้แขนทั้งสองประคองให้นอนแนบทรวงพาเหาะไปในอากาศ เหมือนคนอุ้มลูกรักฉะนั้น
(พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก หน้า 96)
- มะม่วงอีกต้นหนึ่งตั้งอยู่งดงาม ดุจภูเขามีพรรณดังแก้วมณี
(พระราชนิพนธ์เรื่อง พระมหาชนก หน้า 124) |
|
|
|