หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
แม้ว่าการบริการของรัฐด้านสาธารณสุข จะขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะยี่สิบปีที่ผ่านมา ทั้งในด้านการรักษา พยาบาล การป้องกันโรคติดต่อ และการส่งเสริมสุขภาพอนามัย แต่เมื่อพิจารณาถึงการกระจาย บริการดังกล่าว พบว่าราษฎรในชนบทยังขาดแคลนบริการสาธารณสุข ขั้นมูลฐานอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบ กับเมืองใหญ่ๆ จะเห็นได้ว่าอัตราการตายจากโรคที่ป้องกันได้ อัตราการตายของมารดา อัตราของเด็กขาดอาหาร มีอยู่ในอัตรา ที่สูง และหากพิจารณาอัตราส่วนของแพทย์ต่อประชากร จะเห็นสภาพปัญหาด้านสาธารณสุข ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

กล่าวคือ ในขณะที่กรุงเทพมหานคร มีแพทย์ 1 คน ต่อประชากร 998 คน ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ แพทย์ 1 คนจะต้องบริการราษฎร ถึง 26,128 คน และ 12,942 คน และ 14,643 คน ตามลำดับ
จากข้อเท็จจริงดังกล่าว ย่อมจะเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตของราษฎรในชนบทได้เป็นอย่างดี

พระราชดำริเกี่ยวกับโครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน

ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพบว่า ราษฎรเป็นจำนวนมากขาดการดูแลรักษาในด้านสุขภาพอนามัย โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2510 ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับแรม ณ พระราชวังไกลกังวล หัวหิน ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดเจ้าหน้าที่แพทย์พยาบาล เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนยารักษาโรค ออกทำการตรวจรักษาและพยาบาลราษฎรโดยไม่คิดมูลค่า ในท้องถิ่นกันดารในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีหน่วยแพทย์ของทางราชการเข้าไปถึง และครั้งนั้น ทรงพบอีกว่าราษฎรป่วยเป็นโรคฟันและโรคในช่องปากเป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ประกอบด้วยทันตแพทย์ ทันตนามัย รถยนต์ขนาดใหญ่ 1 คันมีเก้าอี้ทำฟัน ตลอดจนเครื่องมือทำฟันครบชุด ออกทำการตรวจและรักษาโรคฟันให้แก่ราษฎรพร้อมกับหน่วยแพทย์เคลื่อนที่

ต่อมา เมื่อมีการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรมเพื่อเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ โครงการพระราชดำริด้านการแพทย์ จึงได้ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง ซึ่งอาจแบ่งตามลักษณะงานได้เป็น 2 ประการ คือ