ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ มีดังนี้
“ ...ร่างกายของคนเรานั้นธรรมชาติสร้างมาสำหรับให้ออกแรงใช้งาน มิใช่ให้อยู่เฉยๆ ถ้าใช้แรงให้พอเหมาะพอดีโดยสม่ำเสมอ ร่างกายก็จะเจริญคล่องแคล่ว อดทน ยั่งยืน ถ้าไม่ใช้แรงเลย หรือไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะเจริญแข็งแรงไปไม่ได้ แต่จะค่อยๆ หมดแรงลงและหมดสภาพไปก่อนเวลาอันควร ดังนั้นผู้ที่ปกติมีการทำงานโดยไม่ใช้กำลังหรือใช้กำลังแต่น้อย จึงจำเป็นต้องหาเวลาออกกำลังให้พอเพียง ความต้องการตามธรรมชาติเสมอทุกวัน มิฉะนั้นจะเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่เขาจะใช้สติปัญญา ความสามารถของเขา ทำประโยชน์ให้แก่ตนเองและแก่ส่วนรวมได้น้อยเกินไป เพราะร่างกายอันกลับอ่อนแอลงนั้น จะไม่อำนวยโอกาสให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ... ”
(พระราชดำรัสในโอกาสประชุมสัมมนาเรื่อง การออกกำลังเพื่อสุขภาพ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ.2523)

“ ... การกีฬานั้นเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่า เป็นการบริหารร่างกาย ให้แข็งแรง ทั้งเป็นการฝึกอบรม จิตใจให้เป็นผู้ร่าเริง รู้จักแพ้และชนะ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ให้อภัยซึ่งกันและกัน อย่างที่เรียกว่ามีน้ำใจเป็นนักกีฬา รวมความว่าผลของการกีฬา คือผลทางร่างกายและจิตใจ นอกจากนั้นยังจะส่งเสริมความสามัคคีกลมเกลียวกัน อันเป็นวัตถุประสงค์ที่พึงปรารถนายิ่ง... ” (พระบรมราโชวาทในวันเปิดงานกรีฑาและศิลปหัถตกรรมนักเรียน ณ กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2502)

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงมีพระราชดำรัสถึงความจำเป็น ความสำคัญและหลักของการออกกำลังกายว่า
“ ...การออกกำลังกายนั้น ถ้าทำน้อยไปร่างกายและจิตใจก็จะเฉา แต่ถ้าทำมากไปร่างกายและจิตใจก็จะช้ำ การออกกำลังแบบมีระบบ ทำให้ร่างกายแข็งแรงตลอดเวลา... ”

การออกกำลังกายให้หัวใจเต้นเร็วตามอัตราการคำนวณนั้น จะเป็นการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน หรืออากาศนิยม (Aerobic Exercise) เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะ การกระโดดเชือก การปั่นจักรยาน การว่ายน้ำ ฯลฯ
2. ความนาน คือ การออกกำลังกายตามข้อ 1 ให้มีอัตราการเต้นของหัวใจคงที่อยู่เช่นนั้นนาน ติดต่อกันอย่างน้อย 15-30 นาที
3. ความบ่อย คือ การออกกำลังกายให้ได้ตามข้อ 1 และข้อ 2 สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ครั้ง (ครั้งละวัน)