ลูกเดือย (Job's tear, Coix lachrymai-jobi Linn.) มีฤทธิ์ยับยั้งสารส่งเสริมการก่อมะเร็ง (Tumor promotor) และมีผลยับยั้งการเกิดมะเร็งในหนูถีบจักร
ขมิ้นชัน (ขมิ้น) (Curcuma domestica Valeton (C. longa Linn.)) สารสำคัญในขมิ้นที่มีฤทธิ์ ต้านมะเร็งคือ Curcumin พบว่าขี้ผึ้ง Curcumin ให้ผลดีกับแผลมะเร็งภายนอก นอกจาก Curcumin แล้วยังมีผู้รายงานว่า Curcumin, arturmarone และ b - attantone ก็มีฤทธิ์ต้านมะเร็งเช่นกัน
โสม (โสมจีนหรือโสมเกาหลี P anax gingseng C.A. Meyer) (โสมอเมริกัน P. quinquefolium Linn.) จากการศึกษาวิจัยมีมากมายที่พบว่า โสมมีฤทธิ์ต้านมะเร็งหลายๆ ชนิด จากผลการทดลองในคนพบว่า การสกัดโสมด้วย Alcohol 95 % และส่วนสกัดซึ่งมี Saponin มีผลต้านมะเร็งกระเพาะอาหาร และป้องกันการเกิดมะเร็งปอดเนื่องจากสารเคมี
มะระขี้นก (Momordica charantia Linn.) จากการศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาใน Cell line และในสัตว์ทดลอง พบฤทธิ์ต้านมะเร็ง โดยองค์ประกอบทางเคมีที่มีฤทธิ์เป็นสารที่สกัดได้จากผลสุก เมล็ด และผลดิบ
ถั่วเหลือง (Soy bean, Glycine max Merr.) จากการทดสอบผลของ genistein สารจำพวก Isoflavone จากถั่วเหลืองในหลอดทดลองพบว่า Genistein สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งต่อมลูกหมาก เซลล์มะเร็งกระเพาะอาหารและเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว จากคนและพบว่า Saponin จากถั่วเหลืองมีผลยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็งลำไส้ใหญ่ของคน
กะหล่ำปลี (Brassica olercea Linn.) จากข้อมูลทางระบาดวิทยาชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่รับประทานกะหล่ำปลี หรือผักกลุ่ม Cruciferous เช่น ดอกกะหล่ำ บรอคอลี่ฯ ในปริมาณสูงและเป็นประจำ จะมีอัตราการเกิดมะเร็งต่ำ ในขณะที่กลุ่มที่ไม่เคยหรือรับประทานเป็นครั้งคราวมีอัตราการเกิดสูงกว่า 2-3 เท่า ผลลดอัตราการเกิดมะเร็งพบได้ในมะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เต้านม และปอด มีรายงานบ้างในหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และต่อมลูกหมาก
|