2.2 ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ เข้ามาสู่ประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2371 โดยมิชชันนารีกุสลาฟและทอมลินนำมาเผยแพร่แก่กลุ่มชาวจีน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงกลับไป จนต่อมาหมอบรัดเลได้นำวิทยาการแผนใหม่ เช่น การพิมพ์และการแพทย์มาเผยแพร่ในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่ขัดแย้งกันเองกับมิชชันนารีที่มาพร้อมกันจนต้องยุติการเผยแพร่ไปอีก ในปี พ.ศ.2383 คณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนมาเริ่มเผยแพร่ใหม่ในกรุงเทพฯ จนถึงกรุงเทพฯ พ.ศ.2404 จึงได้ขยายงานไปยังจังหวัดเพชรบุรี พ.ศ.2411 ขยายไปถึงเชียงใหม่ โดยการประกาศคริสตศาสนาแก่คนทั่วไป ตั้งคริสตจักรให้การศึกษาแก่คริสเตียนและบุคคลทั่วไป โดยตั้งโรงเรียนขึ้นตามคริสตจักรและในเมืองและให้บริการด้านสาธารณสุข โดยการตั้งโรงพยาบาลขึ้นรักษาผู้ป่วยตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น เชียงใหม่ แพร่ ลำปาง และกรุงเทพฯ ปัจจุบันคริสตศาสนานิกายโปรเตสแตนต์ในประเทศไทยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ สภาคริสตจักรในประเทศไทย สหกิจคริสเตียนแห่งประเทศไทย มูลนิธิคริสตจักรแบบติสต์ และมูลนิธิคริสตจักรวันเสาร์แห่งประเทศไทย

สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เคยทรงเป็นแพทย์ประจำบ้าน ณ โรงพยาบาลแมคคอร์มิก ของสภาคริสตจักรในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน ถึงวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ.2472

วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2501 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมโรงพยาบาลแมคคอร์มิก โรงเรียนปรินส์รอแยลส์วิทยา และโรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่


โรงพยาบาลแมคคอร์มิก


วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2508 เสด็จฯ เยี่ยมและทรงเปิดอาคารคนไข้ภายในโรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2521 เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ไปทรงเยี่ยมสถาบันแมคเคน

วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2527 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.สำราญ แพทยกุล องคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ไปเป็นประธานเปิดงานฉลองครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งสภาคริสตจักรในประเทศไทย (ชำเลือง วุฒิจันทร์, 2531 : 464)