การแปลใช้เวลาทั้งสิ้น 1 ปี 7 เดือน 8 วัน เสร็จสิ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2507 และเรื่องการจัดพิมพ์ดังกล่าวก็ได้ผ่านการประชุมคณะรัฐมนตรีลงมติเห็นชอบ ให้ดำเนินการได้โดยใช้งบประมาณ 862,400 บาท ผ่านกรมการศาสนา ซึ่งการดำเนินการจัดพิมพ์นั้นจัดพิมพ์ทีละส่วน
พระคัมภีร์อัลกุรอานฉบับภาษาไทย ฉบับพระราชทานที่พิมพ์ขึ้นทีละส่วนมีทั้งหมด 30 ส่วน ส่วนที่พิมพ์เสร็จแล้วบางสถาบันในส่วนกลางก็ได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และได้พระราชทานให้กับคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส โดยอัญเชิญจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดนราธิวาส และประกอบพิธีพระราชทาน ณ พลับพลา บริเวณศาลากลางจังหวัด เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2513 คณะกรรมการอิสลามจังหวัดนราธิวาสได้กำหนดเอาวันที่ 17 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันจัดพิธีทางศาสนา และถือปฏิบัติเป็นประเพณีสืบมาจนปัจจุบัน
ในการจัดงานเมาลิดกลางประจำปี พ.ศ.2524 คณะกรรมการจัดงานในครั้งนั้นได้นำพระคัมภีร์อัลกุรอานส่วนที่ 30 อันเป็นส่วนสุดท้าย ซึ่งจัดพิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้วขึ้นทูลเกล้าฯถวาย ดังนั้นการแปลถอดความพระคัมภีร์อัลกุรอานจากต้นฉบับเดิม ที่เป็นภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย จึงเป็นงานสนองพระราชประสงค์ทุกประการ


พระราชทานรางวัลจัดโรงเรียนดี แก่คณะโต๊ะครูสอนศาสนาอิสลาม
ณ เรือนรับรอง พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์

1.1.3
การพระราชทานรางวัลแก่โต๊ะครู และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสนับสนุนการศึกษาศาสนาอิสลามของชาวมุสลิม โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างใหญ่หลวง ก่อนปี พ.ศ.2504 ชาวไทยมุสลิมต้องไปเรียนศาสนาอิสลามจากปอเนาะ ซึ่งโต๊ะครูเป็นเจ้าของและผู้สอน (ปอเนาะ แปลว่า กระท่อม) การสอนศาสนาแบบนี้ นักเรียนจะต้องมาเรียน กินอยู่กับโต๊ะครู และพักอาศัยในกระท่อมที่อยู่ใกล้ชิดกับบ้านโต๊ะครู นักเรียนจะช่วยโต๊ะครูประกอบอาชีพตามที่โต๊ะครูประกอบอยู่ เช่น ทำสวนยาง สวนมะพร้าว เป็นต้น การศึกษาในปอเนาะไม่มีการจดทะเบียน ไม่มีการวัดผล สอนไปตามความสามารถ และความพอใจของโต๊ะคร ูและนักเรียน วิชาที่สอนได้แก่ ภาคศาสนาและภาษา นอกนั้นก็เป็นภาคปฏิบัติศาสนกิจ