- แม้เป็น กลางวันแสกๆ ไม่มีใครจำพระนางได้
(พระราชนิพนธ์เรื่อง “ พระมหาชนก ” หน้า 14)

- “ ข้าแต่พระมารดา ใครเป็น บิดาของฉัน ”
(พระราชนิพนธ์เรื่อง “ พระมหาชนก ” หน้า 42)

คำภาษาพูดหรือภาษาปากในตัวอย่างข้างต้น คือ พี่ … น้อง … (ภาษาแบบแผนคือราชาศัพท์ = เชษฐา - อนุชา) เล่นไม่ซื่อ (คิดคดทรยศ - ก่อการกบฏ) จำท่านได้ (จำพระองค์ได้) กลางวันแสกๆ (กลางวันที่สว่างไสว) บิดาของฉัน (พระบิดาของหม่อมฉัน) แสดงความสมจริงเพราะเป็นการใช้ภาษาที่มีผิดบ้างถูกบ้าง เป็นทางการบ้างไม่เป็นทางการบ้างประสมกันไปโดยตลอด

3. การใช้ราชาศัพท์
เนื่องจากตัวละครหลักในเรื่องเป็นกษัตริย์ เพราะฉะนั้นเพื่อความสมจริง จึงต้องมีการใช้คำราชาศัพท์ดังตัวอย่างต่อไปนี้

- “ ข้าแต่ พระมารดา หม่อมฉัน จะไปเมืองสุวรรณภูมิ ”
(พระราชนิพนธ์เรื่อง “ พระมหาชนก ” หน้า 51)

- ในวันนั้นเกิด พระโรค ขึ้นใน พระสรีระ ของพระโปลชนกราช บรรทม แล้วเสด็จลุกขึ้นอีกไม่ได้
(พระราชนิพนธ์เรื่อง “ พระมหาชนก ” หน้า 51)

- พราหมณ์ สนองพระราชโองการ ว่า : “ พระราชอาญามิพ้นเกล้า เทวดาน่าจะได้กล่าวว่า “ โพธิยาลัย ” อันเป็นนามของสถาบันฤษีดัดตนที่วัดพระเชตุพนในเทวมหานคร เมืองสุวรรณภูมิ . แต่หากจะเรียกว่า "ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย" ก็น่าจะเหมาะสมเหมือนกัน
(พระราชนิพนธ์เรื่อง “ พระมหาชนก ” หน้า 140)