การสถาปนาเวลามาตรฐาน

แต่เดิมมาคนไทยวัดเวลาโมงยามโดยตั้งอ่างน้ำลอยกะลามะพร้าว เรียกว่า นาฬิเก เมื่อน้ำเข้ารูกะลานาฬิเกเต็มและจมลง ถือเป็น 1 ชั่วโมงนาฬิกา คนนั่งยามจะตีฆ้องบอกเวลาในตอนกลางวัน เรียกว่า โมง หากเป็นเวลากลางคืนจะตีกลอง เรียกว่า ทุ่ม การวัดเวลาเช่นนี้ไม่เป็นตามหลักของวิทยาศาสตร์และสากลที่เชื่อถือได้
ในรัชสมัยพระองค์ท่านยังไม่มีชาติใดตกลงเรื่องการใช้เวลามาตรฐาน หอดูดาวที่กรีนิช ประเทศอังกฤษก็ยังไม่มี รัฐสภาอังกฤษออกพระราชบัญญัติเวลามาตรฐานเมื่อ ค.ศ. 1880 และจนถึง ค.ศ. 1884 (พ.ศ. 2427) นักดาราศาสตร์จึงได้ประชุมตกลงกำหนดเส้นแวงผ่านเมืองกรีนิชเป็นเส้น 0 องศา เพื่อเทียบเวลาโลก แต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย โดยพระองค์ได้ทรงปฏิบัติการค้นคว้าและทรงสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นเป็นหอนาฬิกาหลวง พระองค์ทรงสถาปนาเวลามาตรฐานขึ้นดังนี้
1. ทรงตรวจวัดความสูงของดวงอาทิตย์และทรงคำนวณทางดาราศาสตร์ทุกวัน
2. ทรงกำหนดเส้นแวงให้ผ่านจุดหนึ่งในพระบรมมหาราชวังเป็นเส้น 100 องศาตะวันออก เป็นเส้นแวงหลักของไทยในสมัยนั้นอันสำแดงถึงพระอัจฉริยะอย่างยิ่ง
3. ทรงสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยเป็นตึกสูง 5 ชั้นขึ้น ณ จุดที่เส้นแวง 100 องศา ตะวันออก ตรงยอดมีนาฬิกา 4 ด้าน เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐาน
4. โปรดเกล้าฯ ตั้งเจ้าหน้าที่รักษาเวลามาตรฐาน ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งงานทางวิทยาศาสตร์ของไทยชุดแรก คือตำแหน่งพันทิวาทิตย์ทำการเทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และตำแหน่งพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์

แม้ในปัจจุบันเราต้องใช้เวลามาตรฐานกรีนิช แต่ก็ควรจะภูมิใจที่ไทยยุคก่อนก็ได้เคยใช้เวลามาตรฐานกรุงเทพปานกลาง (Bangkok Mean Time) โดยให้มีตำแหน่งทางภูมิศาสตร์เป็นเส้นแวง 100 องศา 29 ลิปดา 50 พิลิปดาตะวันออก เส้นรุ้ง 18 องศา 44 ลิปดา 29 พิลิปดาเหนือ มาอย่างถูกต้องก่อนที่จะตกลงการใช้เวลามาตรฐานกรีนิชด้วยซ้ำ
โดยแท้จริงแล้วพระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหอนาฬิกาหลวงในพระบรมมหาราชวัง 2 หอ นอกจากพระที่นั่งภูวดลทัศไนยแล้ว ยังโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศ์เธอ กรมขุนราชสีหวิกรมทรงออกแบบสร้างหอนาฬิกาตรงมุขเด็จของพระที่นั่งจักรีอีกแห่งหนึ่ง แต่มิได้ระบุชื่อและปีที่สร้าง เชื่อว่าพระองค์มีพระราชประสงค์จะให้ชาวเรือขึ้นล่องแม่น้ำเจ้าพระยามองเห็น และเทียบเวลาเดินเรือได้สะดวก พระองค์มีพระราชดำริเกี่ยวกับการสถาปนาระบบเวลามาตรฐาน การประชุมประกาศรัชกาลที่ 4 306 ไว้ว่า

หน้า 11 จากทั้งหมด 12 หน้า
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12